โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
พันธุ์พืชที่ศึกษาตามโครงการ
กระดังงา เงินไหลมา นุ่นป่า โพธิ์ ลั่นทมยะวา
กระดุมทอง จะลาน โนรา ฟ้าทะลายโจร ลำจวน
กระแตไต่หิน จันทร์กระจ่างฟ้า บัวผัน เฟิร์นก้างปลา ลำดวน
กระถินณรงค์ จำปา บานเช้า เฟื่องฟ้า ลำไย
กระท้อน จำปี บานบุรี มะกรูด ลิ้นมังกร
กระทุ่มบก ชบาด่าง บานเย็น มะกอกน้ำ เล็บครุฑ
กระเพรา ชมนาด ใบเงินใบทองใบนาก มะขามเทศ ว่านมหากาฬ
กฤษณา ชมพูพันธุ์ทิพย์ ใบระบาด มะขามป้อม ว่านหางจระเข้
กล้วย ชะพลู ประดู่บ้าน มะค่าโมง วานิลา
กล้วยพัด ชะมะเลียงบ้าน ประทัดจีน มะดัน วาสนา
  ชะเอมไทย ประยงค์ มะเดื่อเถาว์ สนฉัตร
กะชำ ชัยพฤกษ์ ปัตตาเวีย มะตูม ส้มมวง
กันเกรา ชาฮกเกี้ยน ปาล์มขวด มะนาว สลัดได
กัสตาเวีย ชุมเห็ดเทศ ปาล์มคิง มะปราง สะเดา
กาซะลอง ซองออฟจาไมก้า ปาล์มจีน มะพร้าว สะตอ
กาบหอยแครงแคระ ดอนญ่าขาว ปาล์มพัด มะเฟือง สะแอ
ก้ามกั้ง ดาหลา ปาล์มมัน มะม่วง สัก
ก้ามกุ้งสีทอง ต้นจันหนา ปาล์มสิบสองปันนา มะยม สาละลังกา
ก้ามปู ต้นมะขาม ปีกไก่แดง มะรุม สาวน้อยประแป้ง
การเวก ตะโกสวน ผกากรองต้น มะละกอ เสลดพังพอน
การะเกด ตะไคร้หอม ผีเสื้อแสนสวย มะลิหลวง เสลาขาว
กาหลง ตะแบก ไผ่น้ำเต้า มะสัง แสงจันทร์
แก้ว ถั่วพู ไผ่เหลือง มะหวด หญ้าหนวดแมว
  ทรงบาดาล ฝรั่ง มะฮอกกานี หนามแดง
แก้วเจ้าจอม ทองพันชั่ง ฝิ่น มิ๊กกี้เมาส์ หนามพรม
โกโก้ ทองหลางลาย พญาไร้ใบ เม่าไข่ปลา หนุมานประสานกาย
โกสน ทองอุไร พญาสัตบรรณ โมก หว้า
ขนุน ทับทิม พยูง ยอ หอมนวล
ข่อย เทียนทอง พลับพลึง โยทะกา หัวลิง
ขี้เหล็ก ไทรย้อยใบแหลม พะยอม รางจืด หางนกยูง
เข็ม นนทรีบ้าน พิลังกาสา ราชพฤกษ์ หางนกยูงไทย
เข็มป่า น้อยหน่า พุดซ้อน ราชาวดี หูกวาง
คอร์เดีย นางแย้ม พุดตาน รำเพย เหงือกปลาหมอ
แค น้ำเต้าญี่ปุ่น พุทธรักษา ละมุดไทย อัญชัน
แคทลียา นีออน เพชรสังฆาต ลั่นทมขาว อากาเว่

ประทัดจีน
โพธิ์
ชื่อพื้นเมือง โพธิ์ (โพ) ปู (เขมร), สะหลี, สี (พายัพ) [ภาพประกอบ]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus religiosa , Linn
ชื่อวงศ์ MORACEAE
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์ อินเดีย เนปาลและในเอเซียใต้ นำเข้ามาปลูกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
  พร้อมกับการเผยแพร่พุทธศาสนา
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด แต่ส่วนมากจะกระจายพันธุ์โดยนก
ลักษณะ ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มตรง ส่วนยอดของ
  ลำต้น ลำต้นมีความสูงถึง100ฟุต จัดเป็นไม้ที่มีรูปทรงของลำต้นสวยชนิดหนึ่ง
  ใบ ลักษณะของใบเป็นรูประฆังคว่ำ สีเขียวนวลอมเทา ปลายใบยาวแหลม และมีติ่งยาว
  โคนใบจะมนเว้า เข้าหาก้านใบ ก้านใบเล็กยาวและอ่อน ปลีที่หุ้ม ส่วนยอดอ่อน
  เป็นสีครีมหรือ สีงาช้างอมชมพู เป็นไม้ผลัดใบ
  ดอก สีเหลืองนวล
  ผล กลมเล็ก สีชมพูอมม่วง
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร คนที่นับถือศาสนาพุทธ หรือฮินดูถือกันว่าเป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ มีความเกี่ยวพันทางศาสนา
  นิยมปลูกในบริเวณวัด
ข้อมูลพื้นบ้าน ใบ ใช้กินเป็นอาหารได้ และใช้เลี้ยงไหม นอกจากนี้ในใบยังพบว่ามีปริมาณของโปรตีน
  กลับไปตอนต้น
   
ไทรย้อยใบแหลม
ชื่อพื้นเมือง ไทรย้อยใบแหลม, ไทร, ไทรกระเบื้อง, ไฮ,
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benjamina , Linn.
ชื่อวงศ์ MORACEAE
ชื่อสามัญ Golden Fig , Weeping Fig
การกระจายพันธุ์ อินเดีย ศรีลังกา ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ประเทศจีน เขมร ฯลฯ
การขยายพันธุ์ การตอนกิ่ง หรือการปักชำ เมล็ด (กระจายโดยนก)
ลักษณะ ต้น ไม้พุ่มขนาดกลางและแผ่กิ่งก้านสาขา ตามลำต้นจะมีรากอากาศ แตกย้อยรกลงสู่พื้นดิน
  ใบเดี่ยว จะหนาแข็ง สีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายใบแหลม ใบดกทึบ ไม่ผลัดใบ
  ดอก ดอกช่อ
  ผล ผลมีขนาดเล็ก เมื่อสุกมีสีแดง ลักษณะคล้ายมะเดื่อ กินได้
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร รากและเปลือกใช้รักษาแผลงูกัดได้ รากอากาศขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ แก้กษัย
  ใบ-เปลือก ราก ต้มน้ำมันใช้ทาแผลฟกช้ำ น้ำยางใช้รักษาโรคเหงือกและแก้ปวดฟัน ฯลฯ
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นที่อาศัยของสัตว์หลายชนิดโดยเฉพาะนกต่างๆ ให้ร่มเงา และความมีอายุยืน
  ของต้นไทรย้อยเป็นสัญลักษณ์ของความร่มเย็น และความมั่นคงยั่งยืน
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูบุญเรือน เอี่ยมปี
  กลับไปตอนต้น
   
หัวลิง
ชื่อพื้นเมือง หัวลิง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sarcolobus globosus Wall.
ชื่อวงศ์ ASCLEPIADACEAE
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์ ขึ้นในป่าชื้นทั่วไป
การขยายพันธุ์ เมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก - กลาง
  ใบ ใบรวม ใบเล็กรูปไข่
  ดอก ดอกเป็นช่อสีม่วงอ่อน กว้าง 1 เซนติเมตร
  ผล ผลกลม เปลือกหนาสีน้ำตาลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใบ รสเฝื่อนเมา บดผสมกับลูกพะเยาพอกทาแก้ปวดตามข้อแก้ส่าไข้
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูพจรินทร์
  กลับไปตอนต้น
   
ขี้เหล็ก
ชื่อพื้นเมือง ขี้เหล็ก ขี้เหล็กแก่น ขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กหลวง ขี้เหล็กใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia Piamea Britt
ชื่อวงศ์ CAESALPINIACEAE
ชื่อสามัญ Cassod Tree, Thai Copper Pod.
การกระจายพันธุ์ แถบเอเซีย ปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทย
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดเพาะ
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร
  ใบ ใบรวมแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน
  ดอก ออกช่อที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง
  ผล เป็นฝัก แบนยาวและหนายาวประมาณ 15 ซม.
  เมล็ด เป็นเมล็ดเล็กๆ สีดำ
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใบอ่อน มีสารจำพวก hormone นำมาปรุงเป็นอาหารและใช้หมักปุ๋ย (manure) รักษานิ่ว
  ระดูขาวตกหนัก และรักษาอาการท้องผูก
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นยาระบาย มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางทำให้นอนหลับใช้ดอกเหล้าดื่มก่อนนอน รักษานิ่ว
  ระดูขาวตกหนักและรักษาอาการท้องผูก ต้มเอาน้ำดื่มก่อนรับประทานอาหาร
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูแสงเดือน กมลมาลย์
  กลับไปตอนต้น
   
มะม่วง
ชื่อพื้นเมือง มะม่วง หมากม่วง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mangifera indica .Linn
ชื่อวงศ์ ANACARDIACEAE
ชื่อสามัญ Mango
การกระจายพันธุ์ เขตร้อน
การขยายพันธุ์ ต่อกิ่ง ทาบกิ่ง เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง – ใหญ่ แตกกิ่งก้านมาก เปลือกสีน้ำตาลอมดำ
  ใบ สีเขียว เรียวยาว ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบหนา
  ดอก ออกเป็นช่อ มี 5 กลีบ
  ผล มีลักษณะกลมเรียวยาว ผลอ่อนสีเขียว แก่แล้วมีสีเหลือง
  เมล็ด ผลมี 1 เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร  
ข้อมูลพื้นบ้าน ใบ ใช้เผาแล้วสูดควันรักษาโรคไอ หรือต้มแก้โรคลำไส้อักเสบ
  เปลือก ต้มเป็นยาแก้ไข้ เยื่อปากอักเสบ
  ดอก เนื้อในเมล็ด รับประทานแก้โรคท้องร่วง
  ผลสุกรับประทานเป็นยาบำรุง และเป็นอาหาร เนื้อสุกทำมะม่วงกวนได้
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูศิวพจน์ เข็มน้อย
  กลับไปตอนต้น
   
ขนุน
ชื่อพื้นเมือง ขนุน มะหนุน หมากหนุน หมากมี่ (อีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lamk
ชื่อวงศ์ MORACEAE
ชื่อสามัญ Jack Fruit
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด ตอนกิ่ง ชำกิ่ง
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สูงประมาณ 8 – 15 เมตร
  ใบ แข็งสีเขียว มีลักษณะเป็นวงรีมน ฐานใบเรียว หลังใบเรียบเป็นมัน
  ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอกตัวผู้ และช่อดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน
  ผล ผลรวมกลมยาว เยื่อหุ้มเมล็ดมีสีเหลือง เมื่อสุกมีกลิ่นหอม
  เมล็ด กลมแข็ง ยาวรี สีขาวนวล
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เนื้อไม้สีเหลือง ใช้แกะสลัก
  แก่น ใช้เป็นส่วนประกอบในยาแก้ไอ และขับเสมหะ ผล ใช้เป็นยาระบาย
ข้อมูลพื้นบ้าน รากใช้ภายนอกเป็นยารักษาโรคผิวหนัง แก่นใช้ในการย้อมผ้า
  ผลดิบเป็นอาหารได้ และใช้เป็นยาฝาดสมานละยาแก้ท้องเสีย ผลสุกเป็นอาหารและยาระบาย
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูธนพร บุญประสิทธ์
  กลับไปตอนต้น
   
มะยม
ชื่อพื้นเมือง มะยม ยม (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus acidus Skeels
ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ Star Gooseberry
การกระจายพันธุ์ เอเซียเขตร้อน
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีลำต้นตรง กิ่งก้านเป็นทรงพุ่ม
  ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงกัน เป็นคู่ๆ เป็นแผงๆ หนึ่งใบมี 20-30 คู่
  ดอก มีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อ หรือกระจุกตามลำต้น, กิ่งก้าน มีสีเหลือง หรือน้ำตาลเรื่อๆ
  ผล ห้อยเป็นพวงระย้า รูปร่างเฟืองมน ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลแก่สีเหลืองเรื่อๆ
  เมล็ด สีเนื้อ ผลมี 1 เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้เป็นอาหารได้ เปลือกลำต้นสด ต้มดื่มน้ำทานแก้ไข้ทับระดู ใบสดนำมาต้มดื่มแก้ไข้
  บำรุงประสาท ขับเสมหะ บำรุงอาหาร แก้ไข้อีสุกอีใส โรคหัด
ข้อมูลพื้นบ้าน ไม้ใช้ทำเครื่องลางของขลัง เรียกว่า รักยม ใช้ติดตัวทำให้มีเสน่ห์ เป็นที่รักใคร่
  เมตตามหานิยม ของคนทั่วไป
ชื่อผู้ศึกษา อาจารย์สมรัก กมลอาสน์
  กลับไปตอนต้น
   
กระท้อน
ชื่อพื้นเมือง กระท้อน, สะท้อน, มะต้อง, กระท้อน, เตียน, ล่อน, สะโต, สติยา, สะตู, มะติ๋น,
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sandoricum Koetjape ( Burm.f. ) Merr.
ชื่อวงศ์ MELIACEAE
ชื่อสามัญ Santol, Sentol, Red Sentol, Yellow Sentol
การกระจายพันธุ์ อินเดียตอนใต้, ศรีลังกา, พม่า, อินโดจีน, มาเลเซีย, ไทย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น ไม้ขนาดกลาง - ใหญ่ สูง 15-30 เมตร ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ ปลายกิ่งลู่ลง
  เปลือก สีเทาอมน้ำตาล
  ใบ เป็นช่อมีใบย่อยสามใบ เรียงเวียนสลับ
  ดอก เป็นช่อแยกแขนงยาว 4-16 ซม. ออกตามง่ามใบใกล้ๆ ปลายกิ่ง ดอกย่อยสีเขียวอมเหลือง
  จำนวนมาก กลิ่นหอมอ่อน กลีบเลี้ยงโคนติดกันคล้ายรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก
  5 กลีบแยกจากกัน
  ผล กลมแป้นฉ่ำน้ำเวลาสุกผิวสีเหลืองนวลมีกลิ่นหอม มี 3-5 เมล็ด
  เมล็ด มีเนื้อหนาเป็นปุยสีขาวหุ้ม มีรสเปรี้ยวและรสหวาน
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เนื้อไม้ค่อนข้างหยาบ สีแดงเรื่อๆ ปนเทา ใช้ในร่มทนทานพอประมาณ รากเป็นยาแก้โรคบิด
  ดับพิษร้อนใน คอนพิษไข้รากสาด ปรุงยามหานิล เปลือกกระท้อน ใช้เป็นยากินหลังคลอดบุตร
  และเป็นยาบำบัดกลางๆ น้ำคั้นใบ บรรเทาการจับไข้ ผลรับประทานได้หรือใช้ประกอบอาหาร
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูศิริวลี จันทิวาสน์
  กลับไปตอนต้น
   
นนทรีบ้าน
ชื่อพื้นเมือง นนทรีบ้าน ราง(สุรินทร์) อะราง(โคราช) ร้าง(อีสาน) กะถินป่า [ภาพประกอบ]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Peltophorum pterocar pum. (DC) Back. ex. Heyne
ชื่อวงศ์ CAESALPINIACEAE
ชื่อสามัญ Copper Pod, Yellow Poinciana
การกระจายพันธุ์ มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย ผ่านตอนใต้ของไทยตลอดมาเลเซีย ออสเตรเลีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลาง-ใหญ่ ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร ลำต้นเปลา ตรง เปลือกสีเทาปนดำ
  ใบ เป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ช่อจะติดเรียงเวียนสลับถี่ๆ ตามปลายกิ่งดูเป็นกลุ่ม
  ดอก สีเหลืองออกเป็นช่อตั้งตรงขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านแขนงมากอยู่ตามปลายกิ่ง กลีบดอกมีหยัก
  ผล เป็นฝักแบนๆ รูปรี ลายกละ โคนสองแหลม สีน้ำตาลอมม่วง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  เมล็ด แต่ละฝักมี 1-4 เมล็ด เมล็ดแข็งรูปร่างและขนาดเท่าใบย่อย เรียวตามยาวของฝัก
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เนื้อไม้ ใช้ทำกระดานปูพื้น เพดาน ฝาเครื่องเรือน หีบใส่ของ เครื่องตกแต่งบ้าน เปลือก มีรสฝาด
  รับประทานเป็นยาขับโลหิต ใช้เป็นยาขับลม ผายลมแก้ท้องร่วง
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูพูนศรี โพธิ์หนองหลง
  กลับไปตอนต้น
   
นุ่นป่า
ชื่อพื้นเมือง นุ่นป่า นุนไกร (เขมร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Malbaceae
ชื่อวงศ์ Bom BacaCeae
ชื่อสามัญ นุ่น
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ เมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ปลูกชนิดหนึ่งสูง 10-15 เมตร หนามแหลมคม
  ใบ ใบประกอบรูปนิ้วมือ
  ดอก ดอกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง
  ผล เป็นฝัก
  เมล็ด เมล็ดสีดำ
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร นิยมปลูกเก็บนุ่นไปใช้ประโยชน์ ติดฝักดก
ข้อมูลพื้นบ้าน ใบแก้ทอลซิอักเสบ ราก ขับปัสสาวะ ยางแก้ระดูมามากเกินไป ดอกแห้งแก้พิษงู
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูวรรณี นุ่นแก้ว
  กลับไปตอนต้น
   
ไผ่น้ำเต้า
ชื่อพื้นเมือง ไผ่น้ำเต้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bambusa Ventricosa Mcclure
ชื่อวงศ์ GRAMINEAE
ชื่อสามัญ Buddha’s belly bamboo
การกระจายพันธุ์ ถิ่นกำเนิดอยู่ในจีน
การขยายพันธุ์ ด้วยหน่อ แทงออกมาจากโคนต้น แยกกอ
ลักษณะ ต้น ไผ่น้ำเต้าปลูกตามบ้านเรามี 2 ชนิด (1) ไผ่น้ำเต้าใหญ่ ลำโตประมาณ 2-4 นิ้ว ข้อถี่ราว 2-4 นิ้ว
  สูงประมาณ 2-3 เมตร ต้นเจริญเติบโตและใบเรียวเล็กตรงส่วนยอด ลำมีสีเขียวเข้มและเปลี่ยนเป็นสี
  เขียวอมเหลืองเมื่อแก่ (2) ไผ่น้ำเต้าเล็ก ลำโตประมาณ 1 นิ้ว สูงประมาณ 1 เมตร
  ใบ ใบเดี่ยวรูปหอก ยาว 3-6 นิ้ว กว้าง 1-2 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ
  ดอก จะออกเป็นช่อ (แต่ไม่ค่อยออกดอก)
  ผล คล้ายเมล็ดข้าวสาร
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร  
ข้อมูลพื้นบ้าน ใบปรุงยาขับระดู ยอดไผ่ทำยาขับปัสสาวะ รากใช้เป็นยาแก้ไตพิการและยาขับปัสสาวะ และผสมสมุนไพรชนิดอื่นแก้โรคหนองใน ขับโลหิตระดู ตาไม้สุมไฟให้เป็นถ่าน ใช้ทานแก้ร้อนในกระหายน้ำ นำมาปรุงยา หรือผสมเป็นส่วนประกอบของสมุนไพร สำหรับแพทย์แผนโบราณ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูพิมพ์ศิริ รายานะสุข
  กลับไปตอนต้น
   
มะกรูด
ชื่อพื้นเมือง มะกรูด, มะขูด, มะขุน (ภาคเหนือ) ส้มครูด (ภาคใต้) มะทูด (หนองลาย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus Hystrix DC.
ชื่อวงศ์ RUTACEAE
ชื่อสามัญ Leeh Lime, Mauritius Papeda. Kaffir Lime. Porcupine Orange
การกระจายพันธุ์ โดยกำหนดปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ)
การขยายพันธุ์ โดยการใช้เมล็ด หรือตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้าน ลำต้นและกิ่งที่มีหนามแข็ง
  ใบ ใบย่อยใบเดี่ยว สีเขียวหนา มีลักษณะคอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ กลิ่นหอม
  ดอก ออกเป็นกระจุก 3-5 ดอก กลีบดอกสีขาวร่วงง่าย
  ผล มีหลายแบบแล้วแต่พันธุ์ มีทั้งผลใหญ่และเล็กผิวขรุขระมีจุกที่หัว
  เมล็ด เมล็ดเล็กๆ กลมรีมีเหลืองอมขาว
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ผิวผลสดและผลแห้ง รสปร่า หอมร้อน สรรพคุณแก้ลมหน้ามืด แก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ ขับระดู ผายลม น้ำมะกรูดรสเปรี้ยว แก้เสมหะ เป็นยาฟอกโลหิต
ข้อมูลพื้นบ้าน ผิวมะกรูด ใบมะกรูด ผลมะกรูดใช้เป็นเครื่องเทศ น้ำมะกรูดใช้เป็นยาสระผมและเป็นยาดอง
  ใช้รับประทาน ใบมะกรูด แก้ไข้หวัด มีอาการปวดศีรษะ ต้มน้ำรับประทาน
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูศิรินทิพย์ ประสาร
  กลับไปตอนต้น
   
มะสัง  
ชื่อพื้นเมือง มะสัง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Feroniclla Iucida (Scheff) Swing
ชื่อวงศ์  
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์ พบขึ้นเป็นกลุ่มๆ ในภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การขยายพันธุ์ มะสัง เป็นพรรณไม้ป่าเบญจพรรณแล้ง และป่าเหล่าปกติใช้เมล็ดขยายพันธุ์
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใยสูง 5-15 เมตร
  ใบ เป็นข่อแบบข้อต่อ ช่อติดเรียงสลับหรือเป็นกระจุกๆ ละ 2-4 ช่อตามกิ่ง
  ดอก สีเหลืองอ่อนจนถึงแดงคล้ำ ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ
  ผล กลมหรือแป้นเล็กน้อยโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 ซม. ผิวเกลี้ยงแข็งมาก
  เมล็ด มีเมล็ดมากเนื้อแข็ง
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ผลเนื้อในผลแก่รับประทานได้ทั้งคนและสัตว์ รสเปรี้ยวอมหวาน กลิ่นหอม ทั่วๆ ไปจะปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะสามารถทำไม้ดัดได้ดีชนิดหนึ่ง
ข้อมูลพื้นบ้าน ผลมะสังใช้รับประทานได้แก้ท้องอืด ใบใช้รับประทานได้รักษาอาการวิงเวียนศีรษะ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูราณี แก้วก่า
  กลับไปตอนต้น
   
นางแย้ม
ชื่อพื้นเมือง นางแย้ม, ปิ้งชะมด, ปิ้งซ้อน, ปิ้งสมุทร, ส้วนใหญ่ [ภาพประกอบ]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clerodendrum fragrans Vent.
ชื่อวงศ์ VERBENACEAE
ชื่อสามัญ Fragrant Clerodendrum
การกระจายพันธุ์ ทวีปเอเซียเขตร้อน สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาะสุมาตรา ชวา
การขยายพันธุ์ ปักชำ และตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น ไม้พุ่มสูงประมาณ 0.5-1 เมตร
  ใบ ใบเดี่ยว กว้าง 10-18 ซม. ยาว 17-24 เซนติเมตร
  ดอก ช่อแบบกระจุก ก้านดอกยาว
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้เป็นไม้ประดับ
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูวิภาภรณ์ สุริยานนท์
  กลับไปตอนต้น
   
สะเดา
ชื่อพื้นเมือง สะเดา, ไม้เดา, เดา (ใต้) สะเลียม (เหนือ) กะเดา, กาเดา (อีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta inclica A. Juss var” Siamensis Valeton
ชื่อวงศ์ Meliaceae
ชื่อสามัญ Neem Tree.
การกระจายพันธุ์ สะเดาเป็นไม้ดั้งเดิมของเอเซียอาคเนย์พบในประเทศอินเดีย
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดเพาะ
ลักษณะ ต้น ต้นไม้ขนาดกลาง สูง 12-15 เมตร เส้นรอบวง 30-60 ซม.
  ใบ เป็นช่อแบบขนนก ใบย่อยรูปหอกกว้าง 3-4 ซม.ยาว 4-8 ซม. ขอบใบหยัก
  ดอก เป็นดอกช่อสีขาว
  ผล กลมรี อวบน้ำ ผลแก่สีเหลือง ภายในผลปีมี 1 เมล็ด
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ประโยชน์ใช้ทางยา ใบ ก้าน ดอก ลูก เปลือกต้น กระพี้ แก่น ราก ยาง
  ประโยชน์ใช้ทางอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกของสะเดาใช้เป็นผักได้
ข้อมูลพื้นบ้าน ประโยชน์ในงานก่อสร้าง ในการทำเสา เพดาน และฝาเรือน หีบใส่เสื้อผ้า เกวียน
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูบุญนำ ศรีพันอ้วน
  กลับไปตอนต้น
   
ลำไย
ชื่อพื้นเมือง ลำไย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphoria longana
ชื่อวงศ์ Logan
ชื่อสามัญ ลำไย
การกระจายพันธุ์ มนุษย์และสัตว์เป็นผู้นำเมล็ดไปกระจายพันธุ์
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ตอน ทาบกิ่ง ต่อยอด
ลักษณะ ต้น ทรงพุ่มสูงโปร่ง เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน
  ใบ เป็นใบรวม ลักษณะแคบค่อนข้างยาว ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ปลายใบและขอบใบเรียบ
  ดอก ช่อดอกเป็นแบบ compound dichasia มีการเรียงตัวของดอกย่อยแบบ paniele
  ผล ผลกลมแป้นและเปรี้ยว มีขนาดปานกลางผิวเปลือกผลมีสีน้ำตาลอ่อนปนเขียว
  เมล็ด กลมสีดำมีเปลือกแข็งเป็นมัน
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ผลใช้บริโภคเป็นของหวานสด
  สามารถแปรรูปเป็นลำไยอบแห้ง ลำไยแช่แข็ง และลำไยบรรจุกระป๋อง
  เป็นสินค้าส่งออกต่างประเทศได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ USA.
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูคมสันต์ พุ่มพงษ์
  กลับไปตอนต้น
   
ชะมะเลียงบ้าน
ชื่อพื้นเมือง ชะมะเลียงบ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Otophora cambodiana Piene
ชื่อวงศ์ SAPINDACEAE
ชื่อสามัญ ชำมะเลียงบ้าน พุมเรียง พุมเรียงสวน ชุมเรียง มะเต้า พูเวียง
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ เมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม
  ใบ ย่อยรูปหอก เรียวยาวสีเขียวเข้ม
  ดอก ช่อเล็กสีแดง
  ผล รูปหัวใจ มีร่องตรงกลาง แบ่งเป็นสองพูเมื่อสุกสีดำเหมือนลูกหว้า
  เมล็ด
ประโยชน์ ใช้เป็นอาหาร
ข้อมูลจากเอกสาร ราก รสเมาเมื่อเย็น แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต ไข้กำเดา แก้ไม่ผูกไม่ถ่าย แก้ร้อนใน
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุรี พฤกษ์ทวีศักดิ์
  กลับไปตอนต้น
   
แค
ชื่อพื้นเมือง แค
ชื่อวิทยาศาสตร์ SESBANIA GRANDIFLORA (L.) PERS.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ แคบ้าน
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์  
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร
ใบ ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับใบย่อยรูปขอบขนาน
ดอก ดอกช่อออกที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีขาวหรือแดง
ผล เป็นฝักยาว
เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ตำรายาไทยใช้เปลือกตำต้มกินแก้ท้องร่วง แก้บิด ใช้น้ำต้มเปลือกชะล้างบาดแผลและห้ามเลือด ใบสดกินแก้ไข้หัวลม
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้ทำยา
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูนิธิการ ประมาณพล
  กลับไปตอนต้น
   
ประยงค์
ชื่อพื้นเมือง ประยงค์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aglaia odorata Lour
ชื่อวงศ์ MELIACEAE
ชื่อสามัญ Chinese Rice Flower
การกระจายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิด เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แพร่กระจายในเขตร้อน
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น สีน้ำตาลอ่อน
  ใบ สีเขียวเข้มเป็นมัน
  ดอก สีเหลือง
  ผล
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร รากเป็นยา รับประทาน ทำให้อาเจียนเพื่อถอนพิษเบื่อเมาเป็นไข้
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้ทางยา
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุมาลี เอี่ยมละออ
  กลับไปตอนต้น
   
หญ้าหนวดแมว
ชื่อพื้นเมือง หญ้าหนวดแมว, พยับเมฆ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Orthosiphon grandlflorus Bolding
ชื่อวงศ์ LABIATAE
ชื่อสามัญ พยับเมฆ
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์  
ลักษณะ ต้น สีเขียว
  ใบ สีเขียว
  ดอก สีขาว ม่วงอ่อนเหมือนฟ้า
  ผล เป็นผลแห้งไม่แตก รูปรี ขนาดเล็ก
  เมล็ด
  ประโยชน์
ข้อมูลจากเอกสาร ไม้พุ่มมีดอกเก็บตลอดปี นิยมปลูกริมกำแพง ข้างทางเดิน
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะแก้โรคปวดสันหลังและบั้นเอว
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูนิตยา สัมฤทธิ์
  กลับไปตอนต้น
   
ฝิ่น
ชื่อพื้นเมือง ฝิ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ OPIUM POPPY
ชื่อวงศ์  
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์  
ลักษณะ ต้น
  ใบ ขนาดใหญ่
  ดอก ดอกเดี่ยวออกที่ยอด มีหลายสี สีขาว แดง ชมพู
  ผล ภายในผลประกอบด้วยเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ยางจากผลแก่
ข้อมูลพื้นบ้าน ส่วนที่เป็นพิษน้ำยางใส
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูอุดมรัตน์ เชาว์วิวัฒน์
  กลับไปตอนต้น
   
ทองพันชั่ง
ชื่อพื้นเมือง ทองพันชั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhinacanthus nasutus (L) kury
ชื่อวงศ์ Acanthaceae
ชื่อสามัญ ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์  
ลักษณะ ต้น ไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยม
  ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปไข่หรือรูปวงรี
  ดอก สีขาว
  ผล ผลแห้งแตกได้
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ยาสมุนไพร
ข้อมูลพื้นบ้าน ตำรายาไทยใช้ใบสดและรากโขลกละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์นำมาทาแก้กลากเกลื้อน
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสงัด สวัสดิมงคล
  กลับไปตอนต้น
   
เพชรสังฆาต
ชื่อพื้นเมือง เพชรสังฆาต
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cissus quadrangularis Linn.
ชื่อวงศ์ Vitaceae
ชื่อสามัญ ขันข้อ สันชะควด สามร้อยต่อ
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์  
ลักษณะ ต้น ไม้เลื้อยลำต้นรูปสี่เหลี่ยมเป็นครีบ ผิวเรียบ มีรอยคด
  ใบ ใบเดี่ยว ใบบริเวณปลายเถา รูปสามเหลี่ยมหรือรูปไข่
  ดอก ดอกช่อออกตรงข้ามใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก
  ผล ผลเป็นผลสด รูปกลม
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้เป็นยาสมุนไพร
ข้อมูลพื้นบ้าน ตำรายาไทยใช้เถาสดกินแก้ริดสีดวงทวาร วันละ 1 ปล้อง จนครบสามวัน โดยหั่นบางๆ ใช้เนื้อมะขามเปียกหรือเนื้อกล้วยสุกหุ้ม กลืนทั้งหมด เพราะเถาสดอาจทำให้คันคอ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูจอมขวัญ ทองสารี
  กลับไปตอนต้น
ลั่นทมขาว
ชื่อพื้นเมือง ลั่นทมขาว จำปาลาว (พายัพ) จงป่า (กะเหรี่ยง) ไม้จีน (ยะลา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumeria acutolia poir Linn.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ Temple tree , Pagoda tree
การกระจายพันธุ์ เป็นไม้อเมริกา เขตร้อน
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการตอน
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูง 3-6 เมตร ทุกส่วนของต้นจะมีน้ำยางสีขาว
  ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบมน
  ดอก สีขาว หนึ่งดอกมี 5 กลีบ มีกลิ่นหอม ดอกบานเป็นรูปกรวย
  ผล เป็นฝัก ยาวเรียว มีผิวเกลี้ยง
  เมล็ด เป็นรูปแบบๆ มีขนสีขาว
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้ฝักฝนทาแก้ริดสีดวงทวาร เปลือก รากใช้เป็นยาขับน้ำเหลืองเสีย ยาระบาย ยาพอกแก้อาการโรคงูสวัด ทาแก้โรคหิด เมล็ดใช้เป็นยาห้ามเลือด
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูประชิด พิกุลทอง
  กลับไปตอนต้น
   
เม่าไข่ปลา
ชื่อพื้นเมือง เม่าไข่ปลา, ชะเอมไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ ALBIZIA MYRIOPHYLLA BENTH
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ ชะเอมป่า ตาลอ้อย ส้มป่อยหวาน อ้อยช้าง ย่านงาย
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์  
ลักษณะ ต้น ไม้เถายืนต้น มีหนามตามลำต้นและกิ่งก้าน
  ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ยาว 10-15 เซนติเมตร
  ดอก ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นพู่ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม
  ผล ผลเป็นฝัก สีเหลืองถึงน้ำตาล
  เมล็ด เมล็ดจะมีรอยนูน
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร รากเป็นยาแก้กระหายน้ำและเป็นยาระบาย ผลขับเสมหะ เนื้อไม้มีรสหวานแก้โรคในคอ แก้ไอขับเสมหะ
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้เป็นยา
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูมงคล คงทอง
  กลับไปตอนต้น
   
กะชำ
ชื่อพื้นเมือง กะช่ำ กำซำ (กลาง) กำจำ (ใต้) มะหวด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepisanthes rubiginosa Leenh.
ชื่อวงศ์ SAPINDACEAE
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์ ในประเทศไทยทั่วทุกภาค
การขยายพันธุ์ เมล็ด
ลักษณะ ต้น ไม้ต้นสูง 5-10 เมตร
  ใบ ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปขอบใบขนาน
  ดอก ดอกช่อสีขาว ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก
  ผล ผลอ่อนสีแดง สุกสีดำ คล้ายลูกหว้า
  เมล็ด รูปไข่
  ประโยชน์
ข้อมูลจากเอกสาร รากแก้ไข้ แก้พิษฝีภายใน ตำพอกศีรษะแก้ไข้ ปวดศีรษะ และพอกรักษาโรคผิวหนังผื่นคัน
ข้อมูลพื้นบ้าน เมล็ด แก้โรคไอหอบ ไข้ซางเด็ก ไอกรน
  ผล บำรุงกำลัง
  ราก ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม แก้ซาง
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูจินตนา รอดน้อย
  กลับไปตอนต้น
   
เหงือกปลาหมอ
ชื่อพื้นเมือง เหงือกปลาหมอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alanthus Bolubilis
ชื่อวงศ์ Acanthaceae
ชื่อสามัญ Sea-holly
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ เมล็ด
ลักษณะ ต้น แข็งมีหนาม
  ใบ หนาแข็งมีขอบเว้า ริมปลายมีหนาม
  ดอก เป็นช่อสีม่วง
  ผล เป็นฝักสีน้ำตาล
  เมล็ด
  ประโยชน์
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ชอบขึ้นตามชายน้ำ ลำต้นแข็งมีหนาม
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้เป็นยา
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูชำนาญ เจริญภักตร์
  กลับไปตอนต้น
   
ฟ้าทะลายโจร
ชื่อพื้นเมือง ฟ้าทะลายโจร ฟ้าสาง ฟ้าทะลาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Andrographis paniculata , Wall
ชื่อวงศ์ Acanthaceae
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ เมล็ด
ลักษณะ ต้น มีลักษณะสี่เหลี่ยม
  ใบ มีลักษณะรียาวปลายใบแหลม
  ดอก มีขนาดเล็กสีขาว
  ผล คล้ายฝักต้อยติ่ง
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร  
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้แก้ไข้ แก้พิษบวม แก้อาการเจ็บคอ ท้องเสีย บิด กระเพาะอาหาร
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูวิชุดา สะสมทรัพย์
  กลับไปตอนต้น
   
เสลดพังพอน
ชื่อพื้นเมือง เสลดพังพอน ชองระอา พิมเสนต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Barleria lumpeirina, Lindl
ชื่อวงศ์ Acanthaceae
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ ใบปักชำลำต้น
ลักษณะ ต้น ลำต้นสีน้ำตาลแดง
  ใบ ลักษณะยาวเรียว ปลายใบแหลม
  ดอก ดอกเป็นช่อสีเหลือง
  ผล
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร  
ข้อมูลพื้นบ้าน ใบมีรสขม รักษาอาการแพ้อักเสบ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูคลอใจ ต่ายขุนทอง
  กลับไปตอนต้น
   
ละมุดไทย
ชื่อพื้นเมือง ละมุดไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Manilkara Kauki (L.) Dubard.
ชื่อวงศ์  
ชื่อสามัญ ละมุดสีดา
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดขยายพันธุ์ และการตอน
ลักษณะ ต้น ลำต้นยืนต้นสูง 10-15 เมตร
  ใบ แน่นทึบ มีกิ่งก้านแตกออกรอบลำต้น
  ดอก ออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ
  ผล กลมรีขนาด 3 เซนติเมตร
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร  
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูจันทนา พรพระลักขณา
  กลับไปตอนต้น
   
มะตูม
ชื่อพื้นเมือง มะตูม, มะปีน, ตูม, ตุ่มตัง, กะทันตาเถร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aegle marmelod Corr
ชื่อวงศ์ RUTACEAE
ชื่อสามัญ Bengal Quince, Bilak, Bael Fruit
การกระจายพันธุ์ เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอินเดีย, ศรึลังกา, ออสเตรเลีย
การขยายพันธุ์ เป็นไม้กลางแจ้ง ทนต่อความร้อนได้ดี ตอนกิ่ง ใช้เมล็ด
ลักษณะ ต้น พรรณไม้ยืนต้น ลักษณะลำต้นและกิ่งก้าน จะมีหนามแหลมคม ยาว 2.5 ซม.
  ใบ เป็นธง มีใบย่อย 3 ใบ ลักษณะเป็นรูปไข่ใบปลายแหลม ผิวเกลี้ยงมัน
  ดอก สีขาว กลิ่นหอม
  ผล รูปรีกลม หรือรียาว ผิวแข็ง ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่สีเหลือง
  เมล็ด เมล็ดแข็งทรงรีมียางเหนียวๆ ห่อหุ้ม
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใบมะตูมเป็นใบไม้ศิริมงคล ใช้เฉพาะในพิธีพราหมณ์ใช้ใบมะตูม ทัดหู เช่น พิธีอภิเษกสมรส
  พระราชทานในพิธีราชาภิเษก ใช้สำหรับประพรมน้ำมนต์
ข้อมูลพื้นบ้าน เปลือกของรากและลำต้นใช้เป็นยารักษาไข้จับสั่นแก้โรคลม แก้โรคลำไส้ ใบสด คั้นเอาน้ำกินแก้ไข้หวัดและหลอดลมอักเสบ รักษาตาบอด ผลดิบผ่าตากแดดใช้เป็นยาสมาน ช่วยย่อยอาหาร
  ผลสุกเป็นยาระบาย
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูบังอร ยันตะบุศย์
  กลับไปตอนต้น
   
ใบเงินใบทองใบนาก
ชื่อพื้นเมือง ใบเงินใบทองใบนาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Graptophyllum pictum (L.) Griff
ชื่อวงศ์ Acanthaceae
ชื่อสามัญ ใบเงินใบทองใบนาก
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์  
ลักษณะ ต้น สีน้ำตาลอ่อน
  ใบ เขียวด่างขาว เหลืองตรงกลางใบ เหลืองและด่างขาว ด่างชมพู
  ดอก สีแดง
  ผล
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้มงคลจึงเป็นที่นิยมตามบ้านต่างๆ
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นไม้ประดับ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูวรรณา ไตรวาส
  กลับไปตอนต้น
   
มะดัน
ชื่อพื้นเมือง มะดัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Guttiferae
ชื่อวงศ์  
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ ตอน
ลักษณะ ต้น เป็นไม้กิ่งไม้เลื้อยและไม้พุ่ม
  ใบ
  ดอก สีเหลืองอ่อนมีกระสีชมพู
  ผล มีรสเปรี้ยว
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร รับทาน ทำเป็นยา
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นยา
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูอารีวรรณ เฉยชิต
  กลับไปตอนต้น
   
จำปา
ชื่อพื้นเมือง จำปา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Michelia champaca Linn.
ชื่อวงศ์ Magnoliaceae
ชื่อสามัญ Orange Champde, Orange Chempaka, Sapu. Son Champa
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 8-30 เมตร ทรงต้นชลูด ทรงพุ่ม
  ใบ แผ่นใบหนาเลื่อมเป็นมัน
  ดอก ดอกเดี่ยว มีสีเหลืองแกมส้ม กลับดอกหนา
  ผล
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ไม้ประดับเนื้อไม้จากลำต้น ใช้ก่อสร้างทำเครื่องเรือน เครื่องดนตรี
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูวรรณา พูลผล
  กลับไปตอนต้น
   
ชบาด่าง
ชื่อพื้นเมือง ชบาด่าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ HIBISCUS rosa-sinensis “Matensis”
ชื่อวงศ์ MALVACEAE
ชื่อสามัญ Snowflake Hibiscus
การกระจายพันธุ์ จีน และเอเซียตะวันออก
การขยายพันธุ์ การปักชำ การตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น พุ่มแน่น แตกกิ่งโดยรอบ
  ใบ ด่างมีสีขาวประปรายขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย
  ดอก ดอกเดี่ยว สีแดงสด อาจมีริ้วสีชมพู
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร 1. การจัดสวน 2. ไม้กระถาง 3. ไม้ดอกประดับ 4. อาหาร 5. อุตสาหกรรม 6. ยารักษาโรค
  7. การประยุกต์ใช้ในเชิงวิทยาศาสตร์
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูเบญจมาศ มูลลิขิต
  กลับไปตอนต้น
   
กาหลง
ชื่อพื้นเมือง กาหลง ส้มเสี้ยว เสี้ยวน้อย กาแจ๊ะกูโด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia acuminata Linn.
ชื่อวงศ์ CAESALPINACEAE
ชื่อสามัญ -
การกระจายพันธุ์ ปลูกแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ศรีลังกา
การขยายพันธุ์ เมล็ด และตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะเป็นพุ่มสูง 2-4 เมตร
  ใบ ใบแฝดออกใบสลับกันใบสีเขียวระคายมือ เหมือนปีกแมลง
  ดอก ดอกช่อสีขาวมี 6 กลีบ เกสรตัวผู้เส้นขาวเหลือง เกสรตัวเมียเขียวอ่อน
  ผล ผลเป็นฝักแตกได้ยาว 11 ซม. กว้าง 1.5 ซม.
  เมล็ด เมล็ดเล็ก ฝักหนึ่งมี 5-10 เม็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร รากแก้ไอ ปวดศีรษะขับเสมหะแก้บิด ต้นแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคสตรีแก้เสมหะใบรักษาแผลในจมูก ดอกเสมหะพิการ ปวดศีรษะ ลดความดันโลหิต เลือดออกตามไรฟัน
ข้อมูลพื้นบ้าน แก้ปวดศีรษะ ลดความดันโลหิต แก้เลือดออกตามไรฟันและแก้เสมหะพิการ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูอัจฉรา ภาษีเนตร
  กลับไปตอนต้น
   
จำปี
ชื่อพื้นเมือง จำปี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Michelia longifolia Bl. Syn M. alba Dc.
ชื่อวงศ์ MAGNOLIACEAE
ชื่อสามัญ White Chempaka
การกระจายพันธุ์ อยู่ในแถบไทย ชวาและมาเลเซีย
การขยายพันธุ์ เมล็ด ตอน
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ยืนต้นต่างประเทศขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
  ใบ รูปใบมนรี ปลายใบแหลมริมใบเรียบเกลี้ยง เป็นใบเดี่ยว
  ดอก เป็นดอกเดี่ยว สีขาว ออกที่ซอกใบ
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้ดอกเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต กลีบดอกสดมีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทาแก้ปวดศีรษะ ดอกและผล
  บำรุงธาตุแก้คลื่นเหียน แก้ไข้ ขับปัสสาวะ เปลือกต้นแก้ไข้ แก่นบำรุงประจำเดือน
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูธันยาภรณ์ โคตรวงษา
  กลับไปตอนต้น
   
   
พุดตาน
ชื่อพื้นเมือง พุดตาน ดอกสามสี สามผิว สามสี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus mutabilis Linn.
ชื่อวงศ์ MALVACEAE
ชื่อสามัญ Cotton Rose, Changeable Rose
การกระจายพันธุ์ ประเทศจีน
การขยายพันธุ์ โดยการตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 4 ฟุต
  ใบ ใบหยักเป็นแฉก 5-7 แฉกลักษณะคล้ายใบฝ้าย
  ดอก ชั้นเดียวหรือดอกซ้อน จะเปลี่ยนสีไปตามอุณหภูมิของวัน เช้าสีขาว กลางวันสีชมพู เย็นสีชมพูเข้ม
  ผล
  เมล็ด รูปไต มีขนยาว
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร รากใช้ต้มกินหรือใช้รากฝนทา เป็นยารักษาอาการประดง รักษาโรคคันตามผิวหนัง และอาการปวดแสบ ปวดร้อนตามร่างกาย ใบแห้งผสมกับขี้ผึ้งใช้ทารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นยารักษาอาการประดง รักษาโรคคันตามผิวหนัง แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ชื่อผู้ศึกษา คุณครู กิริยา โดษะนันท์
  กลับไปตอนต้น
   
ทับทิม
ชื่อพื้นเมือง ทับทิม, พิลา, พิลาขาว, มะก่องแก้ว, มะเก๊าะ, หมากจัง, เจี๊ยะลิ้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Punica granatum Linn.
ชื่อวงศ์ PUNICACEAE
ชื่อสามัญ Pomegranate, Punic Apple
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดปลูก หรือการตอนกิ่ง ชอบดินเหนียว
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก
  ใบ รูปร่างเรียว แคบ และขนาดเล็ก ขอบใบเรียบ
  ดอก มีหลายสีเช่น ขาว แดง ส้ม
  ผล มีลักษณะกลม ภายในมีเมล็ดมาก
  เมล็ด เป็นเมล็ดเล็กจำนวนมากรวมอยู่ในผลเดียวกัน
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้ทำยามีรสฝาด เนื่องมาจากมีสารแทนนินที่เปลือกประมาณ 22-25 % และมีกรด
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้เป็นยาแก้โรคท้องเดิน และบิด ทับทิมเป็นผลไม้ที่มีรสหวาน หรือเปรี้ยวอมหวานมีวิตามินซี และแร่ธาตุหลายตัว บำรุงฟันให้แข็งแรง
ชื่อผู้ศึกษา คุณครู กาหลง เกิดศักดิ์
  กลับไปตอนต้น
   
ลำดวน
ชื่อพื้นเมือง ลำดวน หอมนวล ( เหนือ )
ชื่อวิทยาศาสตร์ Melodorum fruticosum Lour.
ชื่อวงศ์ ANNONACEAE
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์ มีต้นกำเนิดในภูมิภาคอินโดจีน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด และกิ่งตอน
ลักษณะ ต้น ไม้พุ่มสูง 8 เมตร
  ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปรี หรือหอกแคบขอบขนานกว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 5.2-12 เซนติเมตร
  ผล ผลเป็นผลกลุ่ม มีสีเขียวอ่อน ปลายผลมน โคนผลแหลมเป็นก้านสั้นๆ มีผล 1-2 ผลรวมกันมี 1-2 เมล็ด / ผล
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ตำรายาไทย ดอกแห้งเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ลม จัดอยู่ในเกสรทั้งเก้า
ข้อมูลพื้นบ้าน ส่วนที่ใช้และสรรพคุณเกสรเป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจ และนำมาผสมกับสมุนไพรอื่น เป็นยาบำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจและแก้ลม
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูจำปาทอง กิจนัทธี
  กลับไปตอนต้น
   
มะนาว
ชื่อพื้นเมือง มะนาว ส้มนาว หมากฟ้า มะนอเกละ มะเน้าด์เล สีมานีปีห์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurantifolia Swing.
ชื่อวงศ์ RUTACEAE
ชื่อสามัญ Common Lime Lime , เป็นไม้พื้นเมืองของไทยและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
การกระจายพันธุ์ ไทย และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
การขยายพันธุ์ การตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ผิวเปลือกลำต้นเรียบเกลี้ยง ที่กิ่งอ่อนมีหนาม
  ใบ เรียงสลับ เป็นรูปไข่ หรือรูปรียาว ขนาดกว้างประมาณ 1.5-5.5 เซนติเมตร
  ดอก ออกดอกเป็นช่อหรือดอกเดี่ยว สีขาว กลีบดอกเป็นรูปรียาว ปลายกลีบแหลม
  ผล เป็นรูปกลมผิวเกลี้ยง ขนาดของผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 นิ้ว
  เมล็ด เป็นรูปกลมรี ผลหนึ่งจะมีหลายชนิด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้ประกอบอาหาร ขับเสมหะฟอกโลหิต แก้ไอ ขับลม แก้ไข้ แก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ ถอนพิษไข้ ฟอกโลหิต แก้ตับทรุด แก้ท้องอืด-เฟื้อ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้พิษตานซาง แก้หายใจขัด แก้พิษฝีภายใน
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้ประกอบอาหารและเครื่องดื่ม แก้ไอ ขับลม ขับเสมหะ แก้โรคลักปิดลักเปิด แก้สิว ฝ้า บำรุงผิวพรรณ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูกรองทิพย์ สำรวย
  กลับไปตอนต้น
   
ฝรั่ง
ชื่อพื้นเมือง ฝรั่ง มะมั่น มะก้วยกา มะสีดา มะแกว มะจีน มะปุ่น จุ่มโป่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Psidium guajava Linn.
ชื่อวงศ์ MYRTACEAE
ชื่อสามัญ Guava
การกระจายพันธุ์ อเมริกา, เขตร้อน
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง เปลือกต้นเรียบ
  ใบ ใบเดี่ยว หนา หยาบ ใต้ท้องใบเป็นริ้วเห็นเส้นใบได้ชัดยาวประมาณ 2-5 นิ้ว
  ดอก ออกดอกเป็นช่อในช่อหนึ่งมีดอกย่อยประมาณ 3-5 ดอก มีสีขาวออกดอกที่ซอกใบ
  ผล ผลมีลักษณะต่างกันตามลักษณะของพันธุ์
  เมล็ด ในหนึ่งผลจะมีเมล็ดมากเป็นเม็ดกลมเล็กๆ แข็ง
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ฝรั่งมีสารแทนนินอยู่มาก สารนี้มีฤทธิ์ฝาดสมาน น้ำมันหอมในใบฝรั่ง และสารแทนนิน ในฝรั่งยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค ช่วยสมานท้องและลำไส้ ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
ข้อมูลพื้นบ้าน ใบ ผลอ่อน แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน ระงับกลิ่นปาก มีวิตามินซีมาก ผลสุกมีสารเพ็ดตินอยู่มากใช้เป็นยาระบายได้ ราก แก้น้ำเหลืองเสีย เป็นฝี แผลพุพอง แก้เลือดกำเดาไหล
ชื่อผู้ศึกษา คุณครู วราภรณ์ ศรีแสง
  กลับไปตอนต้น
   
ราชพฤกษ์
ชื่อพื้นเมือง ชัยพฤกษ์ (ภาคเหนือ), ราชพฤกษ์ (ภาคกลาง) อ้อดิบ (ภาคใต้)[ภาพประกอบ]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia Fistula Linn.
ชื่อวงศ์ Leguminosae Caesalpiniaceae
ชื่อสามัญ Golden Shower Indian Laburnum Purging Pudding Pine Tree
การกระจายพันธุ์ ในแถบเอเซีย และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ขนาดเล็ก-กลาง เปลือกสีเทาอมน้ำตาล เรียบ หรือแตกร่อนเป็นสะเก็ด
  ใบ ใบรูปช่อสีเขียวสลับใบย่อยรูปป้อม ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว
  ดอก ดอกเป็นช่อสีเหลือง ห้อยลง ดอกมี 5 กลีบ
  ผล เป็นฝักทรงกระบอก ฝักอ่อนสีเขียว แก่แล้วสีดำ
  เมล็ด เป็นรูปรี แบบสีน้ำตาล
ประโยชน์ เป็นไม้มงคล เป็นไม้ประจำชาติไทย ใช้ทำเสาหลักเมือง เนื้อไม้ทำเสา สากตำข้าว ล้อเกวียน คันไถ กลอง เปลือกทำน้ำฝาด
  ใช้ฟอกหนัง เนื้อในฟักทานได้ ใช้เป็นยาระบาย ดอกใช้แก้ไข้ เปลือกและใบ บดผสมทาฝี และแก้ผื่นคัน
ข้อมูลจากเอกสาร เนื้อในฝักคูนมีสารประเภท Antraguinones หลายตัว เช่น Alein Rhein Sennoside AB ทำให้มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายไปกระดุ้นการบีบตัวของลำไส้เหมาะสำหรับคนท้องผูกเป็นประจำ
ข้อมูลพื้นบ้าน ฝักใช้ขับเสมหะ ขับพยาธิ แก้เด็กเป็นตาลขโมย และเป็นยาถ่าย เนื้อในฝักใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยา
  ระบาย ดอกใช้หล่อลื่นลำไส้ เป็นยาถ่ายใบอ่อนแก้กลากเกลื้อน
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูนฤมล อยู่สุข
  กลับไปตอนต้น
   
ลั่นทมขาว
ชื่อพื้นเมือง ลั่นทมขาว จำปาลาว (พายัพ) จงป่า (กะเหรี่ยง) ไม้จีน (ยะลา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumeria acutolia poir Linn.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ Temple tree , Pagoda tree
การกระจายพันธุ์ เป็นไม้อเมริกา เขตร้อน
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการตอน
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูง 3-6 เมตร ทุกส่วนของต้นจะมีน้ำยางสีขาว
  ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบมน
  ดอก สีขาว หนึ่งดอกมี 5 กลีบ มีกลิ่นหอม ดอกบานเป็นรูปกรวย
  ผล เป็นฝัก ยาวเรียว มีผิวเกลี้ยง
  เมล็ด เป็นรูปแบบๆ มีขนสีขาว
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้ฝักฝนทาแก้ริดสีดวงทวาร เปลือก รากใช้เป็นยาขับน้ำเหลืองเสีย ยาระบาย ยาพอกแก้อาการโรคงูสวัด ทาแก้โรคหิด เมล็ดใช้เป็นยาห้ามเลือด
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูประชิด พิกุลทอง
  กลับไปตอนต้น
   
ตะใคร้หอม
ชื่อพื้นเมือง ตะไคร้หอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardus Linn. , Rendle
ชื่อวงศ์ Graminae
ชื่อสามัญ Citronella Grass
การกระจายพันธุ์ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
การขยายพันธุ์ ใช้หน่อ หรือแยกเหง้าปลูก
ลักษณะ ต้น พรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง แตกเป็นก่อ มีกาบ ลำต้นสีแดง
  ใบ ยาว และแคบ ผิวเกลี้ยงมีสีขาว และมีกลิ่นหอม
  ดอก ออกเป็นช่อฝอย ช่อดอกแยกเป็นแขนง ในแต่ละแขนงมี 4-5 ช่อย่อย
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์ ใช้ปลูกป้องกันการกัดชะดิน ต้นใช้แก้ปากแตก ริดสีดวงในปาก ขับลมในลำไส้ แก้แน่น รากแก้หัวใจฟุ้งซ่าน ใบใช้เป็นยาคุมกำเนิด
  น้ำมันใช้ทาป้องกันยุ่ง
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้ทำยา
ข้อมูลพื้นบ้าน ต้นใช้ขับลมในลำไส้ ใบใช้เป็นยาคุมกำเนิด น้ำมันทาป้องกันยุง
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสมศักดิ์ ชูเชื้อ
  กลับไปตอนต้น
   
จะลาน
ชื่อพื้นเมือง จะลาน (เหนือ) กร้อม (อีสาน) ต้นแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylia xylocarpa Taub
ชื่อวงศ์ MIMOSACEAE
ชื่อสามัญ Iron Wood
การกระจายพันธุ์ ในเอเซียใต้ และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พบทุกภาคในประเทศไทย
การขยายพันธุ์ เมล็ด
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้นสูง 15-30 เมตร
  ใบ ประกอบแบบขนนก 2 ชั้นเรียงสลับ รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน
  ดอก ดอกช่อ ทรงกลมคล้ายดอกกระถิน กลีบดอกสีขาว หรือขาวนวล
  ผล เป็นฝัก รูปไต แบน แข็ง
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เปลือกต้นซึ่งมีรสฝาดสมานธาตุ แก่น เข้ายาแก้โรคกษัยโลหิต (อาการมะเร็งที่มดลูกและรังไข่ในสตรี หรือมะเร็งปอดของบุรุษ) ดอกเข้ายาแก้ไข้ บำรุงหัวใจ
ข้อมูลพื้นบ้าน เปลือกต้นผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม แก้ประดง (อาการโรคผิวหนังมีผื่นคันเป็นเม็ดขึ้นคล้ายผดคันมากมักมีไข้ร่วมด้วย) แก่น 1 กำมือ ต้มน้ำดื่มก่อนนอนเป็นยาถ่าย
ชื่อผู้ศึกษา คุณครู ปณตพร พัฒนภักดี
  กลับไปตอนต้น
   
หว้า
ชื่อพื้นเมือง หว้า หัวขี้แพะ หว้าขี้แพะ มะท้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Eugenia Cumini (L.) Druce
ชื่อวงศ์  
ชื่อสามัญ Black Plum
การกระจายพันธุ์ ในเอเซียใต้ และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ เรือนยอดขนาดใหญ่ เปลือกสีเทาเรียบ กิ่งเหนียว
  ใบ ใบอ่อนสีแดง ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ ใบหนา และเกลี้ยง
  ดอก สีขาวออกเป็นช่อ ตามกิ่งย่อย
  ผล กลมรี มีเนื้อหนาเยื่อหุ้ม แก่จัดมีสีดำ
  เมล็ด -
ประโยชน์ ผลทานได้ ทำไวท์รสชาดดี เนื้อไม้ทำเรือแจว พาย และส่วนประกอบของเกวียน เปลือกและใบตำเป็นยาอม เมล็ดรักษาโรค
  ปัสสวะมาก ท้องร่วง
ข้อมูลจากเอกสาร  
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้เปลือกลำต้นแก้บิด ต้มแก้ปากเปื่อย ผลแก้ท้องร่วง
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูชูศรี สาตจีนพงษ์
  กลับไปตอนต้น
   
ก้ามปู
ชื่อพื้นเมือง ก้ามปู จามจุรี(กลาง) ก้านกราม ก้ามกุ้ง กิมบี้ (กระบี่) ฉำฉา สารสา สำสาลัง(เหนือ) ตุ๊ดตู่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Samanea saman (Jacq) Merr
ชื่อวงศ์ MIMOSACEAE
ชื่อสามัญ Rain Tree, East Indian Walnut
การกระจายพันธุ์ ถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน และอเมริกาใต้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันทั่วไปในเขตร้อน
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด ปักชำ
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 15-20 เมตร แตกกิ่งต่ำ กิ่งมีขนาดใหญ่
  ใบ ใบย่อยรูปไข่ รูปรีหรือคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปใบมีลักษณะสมมาตรกว้าง 0.6-4 ซม.
  ดอก ออกเป็นฝอยฟูบาน โคนดอกขาว ปลายดอกเป็นสีชมพูอ่อนๆ
  ผล ฝักรูปขอบขนาน ตรงหรือโค้งเล็กน้อยกว้าง 1.5-2.4 เซนติเมตร ยาว 15-20 เซนติเมตร ผิวเรียบ
  เมล็ด เรียงเป็นแถวตามความยาวของฝักสีน้ำตาล รูปแบนรี กว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร ยาว 9 มิลลิเมตร หนา 4 มิลลิเมตร
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน แกะสลัก
ข้อมูลพื้นบ้าน เปลือกมีรสฝาดสมาน เปลือกแก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย คอเปื่อย เหงือกบวม ปวดฟัน ห้ามโลหิตตก
  ใบแก้ริดสีดวงทวาร แก้ท้องร่วง เมล็ด แก้กลากเกลื้อน โรคเรื้อน ใบ มีรสเย็น ดับพิษ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูเพชรไทย อุตม์อ่าง
  กลับไปตอนต้น
   
มะลิหลวง
ชื่อพื้นเมือง มะลิหลวง ข้าวแตก มะลิ มะลิขี้ไก่ มะลิป้อม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac Ait.
ชื่อวงศ์ OLEACEAE
ชื่อสามัญ Arabian Jasmine
การกระจายพันธุ์ ไม้พื้นเมืองของเอเซียใต้ เอเซียกลางและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
การขยายพันธุ์ ตอน ปักชำ แยกกอ
ลักษณะ ต้น ขนาดกลาง ทรงพุ่มสูงประมาณ 5 ฟุต
  ใบ ใบเดี่ยว แตกเรียงเป็นคู่ๆ ใบมนป้อม ปลาย ใบแหลมริมขอบใบเรียบ สีเขียวแก่ ยาว 2-3 นิ้ว
  ดอก ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ขนาดของดอกบานเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว ออกดอกบริเวณก้าน
  ออกดอกในฤดูร้อน
  ผล
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ติ ใบ, ราก ทำยาหยอดตา ดอก แก้หืดหอบ บำรุงหัวใจ รากแก้ท้องเสีย ขับประจำเดือน รักษาหลอดลมอักเสบ
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นไม้มงคลใช้บูชาพระนาราย เป็นดอกไม้วันแม่แห่งชาเป็นยารักษาโรค ทำมาลัยถวายพระ เป็นรั้วหน้าบ้าน ปลูกไว้ค้าขาย
ใช้โรยหน้าขนม  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูอำพร อิ่มพวง
  กลับไปตอนต้น
   
พุดซ้อน
ชื่อพื้นเมือง เก็ตถวา พุดซ้อน พุดสวน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenia jasminoides Ellis
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE
ชื่อสามัญ Cape Jasmine Gardenia
การกระจายพันธุ์ ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในประเทศจีน พบปลูกทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย
การขยายพันธุ์ ใช้วิธีปักชำหรือตอนกิ่ง การใช้เมล็ดจะไม่ติดจึงไม่นิยม
ลักษณะ ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 1-2 เมตร
  ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว เกิดเรียงกันแบบตรงข้ามลักษณะใบเป็นรูปไข่กลับ
  ดอก มีสีขาว
  ผล มีรูปทรงรียาว ผิวเป็นร่อง
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ส่วนของดอกแห้งใช้ผสมร่วมกับใบชาเพื่อเพิ่มกลิ่น ส่วนของผลใช้เป็นส่วนผสมอาหารเพื่อให้ได้สีเหลือง
ข้อมูลพื้นบ้าน ส่วนของดอกบานมีกลิ่นหอม
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูยุพดี เงินเกิด
  กลับไปตอนต้น
   
รำเพย
ชื่อพื้นเมือง รำเพย กระบอก ยี่โถฝรั่ง (กรุงเทพฯ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thevetia peruviana (Pers) Schum
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ Lucky Nut Trumpet flower
การกระจายพันธุ์ ถิ่นกำเนิด อเมริกาเขตร้อน
การขยายพันธุ์ เมล็ด ปักชำกิ่ง
ลักษณะ ต้น ไม้พุ่มขนาดใหญ่ มียางขาว เปลือกสีน้ำตาลอ่อน
  ใบ ใบเดี่ยวออกเวียนสลับถี่ เขียวสดเป็นมัน กว้าง 0.7 ซม. ยาว 7.5 ซม. ก้านใบสั้น
  ดอก ดอกช่อออกตามปลายกิ่งสีเหลือง ส้ม ขาว กลิ่นหอม มีกลีบ 5 กลีบ ดอกเชื่อมรูปกรวยยาว
  ผล ผลเดี่ยว รูปสามเหลี่ยมค่อนข้างกลม รอยผ่ากลางเส้นศูนย์กลาง 2.5 ซม.
  เมล็ด มี 1 เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ส่วนที่เป็นพิษน้ำยางและเมล็ดยาง ระคายเคืองต่อผิวหนัง ทำให้เกิดอาการผื่นคัน เมล็ดมีสารพิษทำให้
  ท้องเดินคลื่นไส้ อาเจียนหัวใจเต้นช้าหรือหยุดเต้นได้ เป็นไม้ประดับทรงพุ่มแน่นทนแล้ง ปลูกเป็นไม้บังสายตาหรือฉากหลัง
ข้อมูลพื้นบ้าน ส่วนที่เป็นพิษน้ำยางและเมล็ดยางระคายเคืองต่อผิวหนัง ทำให้เกิดอาการผื่นคัน เมล็ดมีสารพิษทำให้ท้องเดินคลื่นไส้อาเจียนหัวใจแต้นช้าหรือหยุดเต้นได้เด็กรับประทาน 1-2 เมล็ด ผู้ใหญ่ 8-10 เมล็ด อาจถึงตาย
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสมบัติ สว่างแก้ว
  กลับไปตอนต้น
   
หนุมานประสานกาย
ชื่อพื้นเมือง หนุมานประสานกาย ว่านอ้อยช้าง (เลย) ชิดฮะลั้ง กุชิดฮะลั้ง (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Schefflera leucantha Viguier
ชื่อวงศ์ ARALIACEAE
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ดีกับดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นพอประมาณ ปานกลาง
  ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร ผิวลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง
  ใบ ประกอบแบบนิ้วมือเรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรี กว้าง 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร
  ดอก ออกดอกเป็นช่อๆ หนึ่งยาวประมาณ 3-5 นิ้ว กลีบดอกสีนวล ลักษณะของดอกย่อยเป็นดอกสีเขียว
  มีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร
  ผล ผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงสด
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใบ ใช้ใบสดประมาณ 9 ใบ นำมาต้มเอาน้ำหรือใช้ใบสด คั้นเอาน้ำผสมกับสุราเป็นยาแก้ไอหอบหืด
  อาเจียนเป็นเลือด ใบสดตำเอากากใช้เป็นยาห้ามเลือด สารสกัดจากใบมีสาร ซาโปนิน มีฤทธิ์ขยาย
  หลอดลม
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้เป็นยา
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูจิรายะ วรรณะ
  กลับไปตอนต้น
   
ชัยพฤกษ์
ชื่อพื้นเมือง ชัยพฤกษ์ [ภาพประกอบ]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia javanica , Linn.
ชื่อวงศ์ CAESALPINIACEAE
ชื่อสามัญ Javanese Cassia
การกระจายพันธุ์ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
การขยายพันธุ์ ใช่เมล็ด
ลักษณะ ต้น ไม้ขนาดกลาง เรือนยอดกว้างไม่สม่ำเสมอ ลำต้นสีน้ำตาล
  ใบ ใบรวมสีเขียว ผลัดใบ
  ดอก สีชมพู เปลี่ยนเป็นแดงเข้มและขาว ออกช่วง เมษายน – พฤษภาคม
  ผล เป็นฝักอยู่เป็นพวงเดียวกันสีเขียวแก่เวลาแก่เปลือกสีดำ
  เมล็ด สีแดง เม็ดกลมๆ ออกแบนๆ หน่อย
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับช่วงออกดอกมีใบรองรับช่อดอก
ข้อมูลจากเอกสาร ข้อมูลจากเอกสารที่ศึกษาและมีอยู่ไม่ปรากฏ
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นต้นไม้ประจำท้องถิ่นยืนต้นสูง กิ่งเหนียวให้ร่มเงา ใบอ่อนนำมาประกอบอาหารได้ โดยการนึ่งจะมีรส
  หวาน หอม นิ่ม อร่อย
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูเอื้องฟ้า จันทร
  กลับไปตอนต้น
   
หางนกยูงไทย
ชื่อพื้นเมือง หางนกยูงไทย จำพอ ซำพอ ซมพอ ส้มผ่อ นกยูงไทย หนวดแมว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Caesalpinia pulcherrima Sw.
ชื่อวงศ์  
ชื่อสามัญ Pride of Barbados, Peacock’s Crest
การกระจายพันธุ์ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกาใต้
การขยายพันธุ์  
ลักษณะ ต้น เป็นไม้พุ่ม มีลำต้นขนาดเล็ก เรือนยอดโปร่ง กิ่งอ่อนสีเขียว กิ่งแก่สีน้ำตาล
  ใบ มีใบรวม ออกเป็นแผง ปลายใบมน โคนใบแหลม
  ดอก ดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาวมีสีแดง เหลือง ชมพู ส้ม ดอกมี 5 กลีบ
  ผล เป็นฝักแบน
  ประโยชน์
ข้อมูลจากเอกสาร ให้ร่มเงา ใช้เป็นไม้ประดับได้
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูเพาพงา ตันบริภัณฑ์
  กลับไปตอนต้น
   
ไบระบาด
ชื่อพื้นเมือง ใบระบาด ผักระบาด เมืองบอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Argyreia nervosa (Burm.f.) Bojer.
ชื่อวงศ์ CONVOLVULACEAE
ชื่อสามัญ ใบระบาด
การกระจายพันธุ์ อินเดีย และบังคลาเทศ
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น เถาว์เลื้อย เนื้อแข็ง กิ่งอ่อนสีขาวเงิน ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  ใบ เดี่ยว สีเขียวเทา ไม่ผลัดใบ ปลายใบแหลม ใต้ใบมีขนนุ่มสีน้ำเงิน
  ดอก ดอกเป็นช่อกระจุก ตามซอกใบ ก้านช่อดอกแข็ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอก สีชมพู – ม่วง โคนกลีบสีม่วงเข้มเชื้อมเป็นหลอด
  ผล ผลสดรูปกลม
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้บดบังภาพที่ไม่สวยงามเพราะมีใบขนาดใหญ่ ไม้ริมทะเล เหมาะเป็นซุ้มในการใช้เลื้อย
ข้อมูลพื้นบ้าน ตำรายาไทยใช้ รากซับน้ำเหลืองเสีย บำรุงกำลัง แก้โรคไขข้ออักเสบ ขับปัสสาวะ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูวาสนา ก่ำแพ
  กลับไปตอนต้น
   
จันทร์กระจ่างฟ้า
ชื่อพื้นเมือง จันทร์กระจ่างฟ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Manderilla sp
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์ ฟิลิปปินส์
การขยายพันธุ์ กิ่งปักชำ ตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น ไม้เถาว์เนื้อแข็งขนาดกลาง กิ่งอ่อนสีเขียวเรื่อแดง
  ใบ เดี่ยว แตกตรงกันข้าม ปลายใบ และโคนใบมน แผ่นใบสีเขียวสดเป็นมัน
  ดอก สีเหลืองออกเป็นช่อตามซอกใบ โคนกลีบเชื่อมเป็นหลอด ปลายแยก 5 กลีบ
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ให้ความสวยงามสะดุดตา เลี้ยงง่ายโตเร็ว ทนร้อน ปรับตัวได้ดี
ข้อมูลพื้นบ้าน เหมาะสำหรับปลูกเป็นรั้วหรือทำเป็นซุ้ม
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูพนัดดา จันทร์แดง
  กลับไปตอนต้น
   
สลัดได
ชื่อพื้นเมือง สลัดได กะลำพัก เคียะผา เคียะเลี่ยม หนอนงู
ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia antipuoum Linn.
ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ Malayan Spurge Tree
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ -
ลักษณะ ต้น สูง 3-6 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขา
  ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่กลีบขนาดเล็ก อวบน้ำ หลุดร่วงง่าย
  ดอก ดอกช่อสั้น ออกในแนวสันเหนือหนาม
  ผล ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ ขนาดเล็กมี 3 พู
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้แก้ไข้ ยางมีพิษระคายเคืองผิวหนัง ใช้เป็นยากัดหูด ถ้าทำยางสุกด้วยการนึ่งแล้วตากแห้ง ใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรง
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูลาวัลย์ รักเย็น
  กลับไปตอนต้น
   
ปัตตาเวีย
ชื่อพื้นเมือง ปัตตาเวีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Jatropha integerrima Jacq
ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ Jatropha
การกระจายพันธุ์ อินดีสตะวันออก
การขยายพันธุ์ ตอนกิ่ง และเพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น ไม้พุ่มขนาดกลาง รูปทรงโปร่ง สีน้ำตาลเข้ม
  ใบ สีเขียวแก่ ใบใหญ่เป็นรูปไข่ ลักษณะของใบปลายแหลม ขอบใบเรียบไม่มีจัก
  ดอก สีแดง ชมพู ออกเป็นช่อ อยู่ตรงส่วนยอดของลำต้น ดอกหนึ่งมี 5 กลีบ
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ปลูกเป็นไม้ประดับ ริมทะเล ริมถนน
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูณัฐยา เต็มวรรณธนกุล
  กลับไปตอนต้น
   
ผกากรองต้น
ชื่อพื้นเมือง ผกากรองต้น ขะจาย ตาปู ขี้กา คำขี้ไก่ สาบแร้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lantana camara, Linn
ชื่อวงศ์ VERBENACEAE
ชื่อสามัญ Cloth of Gold, Hedge Flower
การกระจายพันธุ์ อาฟริกา อเมริกาเขตร้อน
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ตัดกิ่งปักชำ
ลักษณะ ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาโดยรอบ ลำต้นมีขนปกคลุม จับดูจะระคายมือ
  ใบ รูปไข่ขอบจะจัก ปลายใบแหลม พื้นใบมีสีเขียวเข้ม ผิวของใบจะสากระคายมือ ใบออกเป็นคู่
  ดอก สีเหลือง แดง ชมพู ขาว ม่วง ดอกเล็กออกเป็นกระจุก อาจมีหลายสีหรือสีเดียว
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ปลูกเป็นไม้ประดับ
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูเสาวนีย์ มณีฉาย
  กลับไปตอนต้น
   
ผีเสื้อแสนสวย
ชื่อพื้นเมือง ผีเสื้อแสนสวย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clerodendrum ugandense Prain
ชื่อวงศ์ VERBENACEAE
ชื่อสามัญ Blue Butterfly
การกระจายพันธุ์ อาฟริกา
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำ ชอบที่แดดรำไร ดินร่วน
ลักษณะ ต้น เป็นกระพุ่ม โปร่งขนาดเล็ก
  ใบ สีเขียว มนรี ปลายใบแหลม ขอบใบจัก โคนใบมน
  ดอก สีฟ้าอ่อน ฟ้าเข้ม ออกตรงส่วนยอดของก้าน
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ปลูกเป็นไม้ประดับ
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูวลีพรรณ สมสุข
  กลับไปตอนต้น
   
สาวน้อยประแป้ง
ชื่อพื้นเมือง สาวน้อยประแป้ง ด้ายใบ้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dieffenbachia ฟทกืฟ
ชื่อวงศ์ ARACEAE
ชื่อสามัญ Spotted Dumb Cane
การกระจายพันธุ์ ลุ่มน้ำอเมซอน บราซิล
การขยายพันธุ์ ตัดยอดปักชำ แยกหน่อ
ลักษณะ ต้น กลม แข็งแรง อาจสูงถึง 1.5 เมตร
  ใบ สีเขียวใหญ่ พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ลายเส้นใบลายด่างสีขาว
  ดอก -
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้ประดับเป็นไม้กระถางในอาคาร ปลูกบังกำแพงในบริเวณที่ร่ม
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูวรรณี จันทร์ลา
  กลับไปตอนต้น
   
อัญชัน
ชื่อพื้นเมือง อัญชัน อัญชันบ้าน เอื้องจัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clitoria ternatea Linn.
ชื่อวงศ์ PAPILIONACEAE
ชื่อสามัญ Butterfly Pea, Mussel Shell Creeper
การกระจายพันธุ์ อินเดีย
การขยายพันธุ์ เมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก เถาว์อ่อน เลื้อยได้ไกล
  ใบ ออกรวมกันเป็นแผงๆ ละ 5 – 9 ใบ ใบขนาดเล็กบาง
  ดอก สีน้ำเงินแก่ตรงกลางเหลือง ออกเป็นช่อๆ ละ 2-4 ดอก ออกดอกทั้งปี
  ผล เป็นฝักยาว 2 นิ้ว
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ปลูกเป็นซุ้ม สกัดสีของดอกมาทำขนมได้
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นยาสระผม ทำสียอมผ้า ทำขนม
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสายพิณ ขวัญเมือง
  กลับไปตอนต้น
   
กระดุมทอง
ชื่อพื้นเมือง กระดุมทอง กระดุมทองเลื้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Wedelia trilobata , (L) Hitchc.
ชื่อวงศ์ COMPOSITAE
ชื่อสามัญ Climbing Wedelia, Creeping Daisy
การกระจายพันธุ์ อเมริกาเขตร้อน
การขยายพันธุ์ ปักชำเป็นส่วนใหญ่ ใช้เมล็ดเพาะได้
ลักษณะ ต้น ไม้เลื้อยขนาดเล็ก ลำต้นมีขนสาก ทอดเลื้อยตามพื้นดิน รากออกตามข้อ
  ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีหรือไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน
  ดอก ประกอบด้วยดอกเล็กๆ จำนวนมาก วงนอกสีเหลืองอมส้ม วงในสีส้มออกน้ำตาล รูปหลอดสั้น เป็นกระจุกอยู่กลางดอก
  ผล รูปไข่กลับ ปลายผลมีเนื้อเยื่อสีขาวรูปถ้วย
  เมล็ด รูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม สีดำเป็นมัน
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้ประดับที่มีสีสวยงาม ใช้ปลูกคลุมดิน หรือปลูกริมตลิ่ง
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูพิทย์เพียร เนียมมณี
  กลับไปตอนต้น
   
หนามแดง
ชื่อพื้นเมือง หนามแดง มะนาวไม่รู้โห่ มะนาวโห่ หนามขี้แรด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carissa curandas , Linn.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ Caranda, Christ’s Thorn
การกระจายพันธุ์ ไม้พื้นเมือง
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรงสูง 3-4 เมตร กิ่งก้านมีหนามแหลมยาว
  ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่กลับกว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 4-9 เซนติเมตร ริมขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง
  ดอก ดอกช่อ ออกเป็นกระจุก กลีบดอกสีขาวนวล กลิ่นหอม
  ผล เป็นรูปรี เมื่ออ่อน มีสีแดง ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู
  เมล็ด สีน้ำตาล
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร แก่น บำรุงไขมัน ใบสดต้มน้ำดื่ม แก้ท้องร่วง แก้ปวดหู แก้ไข้ แก้เจ็บปากเจ็บคอ ผลสุกและดิบ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน แก้ท้องเสีย รากสดต้มน้ำดื่มขับพยาธิ บำรุงธาตุ
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุทิน ศรีมณียงศ์
  กลับไปตอนต้น
   
วาสนา
ชื่อพื้นเมือง วาสนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena ruagrans lindenii
ชื่อวงศ์ AGAVACEAE
ชื่อสามัญ Dracaena
การกระจายพันธุ์ ประเทศกินี ในอาฟริกา
การขยายพันธุ์ ด้วยวิธีการตัดลำต้นเป็นข้อๆ ไปปักชำ
ลักษณะ ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นเดี่ยวๆ สูงขึ้นเป็นลำตรงลำต้นจะไม่มีกิ่งก้าน
  ใบ เป็นใบเดี่ยวถี่ทับซ้อนกัน
  ดอก ออกดอกรวมเป็นช่อๆ แน่นทึบติดกันเป็นกลุ่มๆรูปวงกลม
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้เป็นไม้ประดับ เป็นไม้มงคล
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุรางค์ เอมกลิ่น
  กลับไปตอนต้น
   
ว่านหางจระเข้
ชื่อพื้นเมือง ว่านหางจระเข้ ว่านไฟไหม้ ยำดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe barbadensis , Mill
ชื่อวงศ์ LILIACEAE
ชื่อสามัญ Star Cactus, Aloe, Barbados
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ แยกหน่อปลูก
ลักษณะ ต้น มีลำต้นไม่สูง
  ใบ หนาอวบน้ำ สีเขียวอ่อนมีจุดประสีขาว ใบเป็นจักคล้ายฟันเลื่อย เมื่อหักใบจะมีวุ้นเมือก
  ดอก ออกจากกลางต้น เป็นช่อก้านช่อยาวสีส้มแดง
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร มีสารประกอบทางเคมีหลายชนิด
ข้อมูลพื้นบ้าน เมือกใสใช้รักษาบาดแผลสด แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก และรักษาสิว
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูพิไล โล่ห์สุวรรณ
  กลับไปตอนต้น
   
สัก
ชื่อพื้นเมือง สัก เส่บายี้ ปิฮี ปายี้ เคาะเยียโอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tectorna grandis, Linn. F.
ชื่อวงศ์ VERBENACEAE
ชื่อสามัญ TEAK
การกระจายพันธุ์ เอเซียใต้ และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ติดตา เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ลักษณะ ต้น ไม้ขนาดใหญ่ กิ่งมัน เปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา ผิวเรียบ หรือแตกเป็นร่อง
  ใบ ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ โคนใบมน ปลายใบแหลม
  ดอก ดอกสีขาวนวล เป็นช่อ
  ผล ผลกลม แข็ง ภายในมี 1-3 เมล็ด
  เมล็ด -
ประโยชน์ เนื้อไม้สวยงาม ทนทาน ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ล้อเกวียน ประตู หน้าต่าง พานท้าย ราวปืน ทำไม้อัด
ข้อมูลจากเอกสาร -
ข้อมูลพื้นบ้าน ใบอ่อนให้สีแดง ใช้ย้อมกระดาษ หรือย้อมผ้า
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูรัตนา คล้ายจินดา
  กลับไปตอนต้น
   
ประดู่บ้าน
ชื่อพื้นเมือง ประดู่บ้าน ประดู่กิ่งอ่อน ประดู่สาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plerocarpus indicus, Willd
ชื่อวงศ์ PAPILIONACEAE
ชื่อสามัญ ANGSANA
การกระจายพันธุ์ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เอเซียใต้
การขยายพันธุ์ ด้วยการเพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำคล้ำ
  ใบ ใบประกอบแบบขนนกออกสลับใบย่อย 7-13 ใบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4-5 เซนติเมตร
  ยาว 6-10 เซนติเมตร ใบห้อย
  ดอก เป็นช่ออยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม มีสีเหลือง
  ผล เป็นแผ่นกลมคล้ายจานบินตรงกลางนูนแล้วลาดออกเป็นครีบบางๆ
เมล็ด มี 1-2 เมล็ด  
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้แก่นเนื้อไม้นำมาต้มกินเป็นยาแก้เสมหะ แก้ไข้ แก้เลือดกำเดาไหลใช้ใบอ่อนนำมาตำให้ละเอียดใช้กากพอกแผลที่เป็นฝี พอกแผลแก้ผดผื่นคัน ยางไม้มีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า Gum kine นำมาใช้เป็นยาแก้โรค ท้องเสีย
ข้อมูลพื้นบ้าน เนื้อไม้ใช้ทำบ้านเรือน เสา หรือที่รองรับน้ำหนักมากๆ ทำกระบะรถ เกวียน ลูกกลิ้ง ส่วนเปลือกใช้ย้อมผ้า ซึ่งให้สีน้ำตาล สีแดงคล้ำ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูนิตยา มณีฉาย
  กลับไปตอนต้น
   
พญาสัตบรรณ
ชื่อพื้นเมือง พญาสัตบรรณ ตีนเป็ด สัตตบรรณ หัสบัน [ภาพประกอบ]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris , (Linn.) R.B.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ Devil Tree, Whites Chesewood, Blackboard Tree, Devil’s Bark
การกระจายพันธุ์ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
การขยายพันธุ์ การตอน เมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 30 เมตร เปลือกต้นสีเทา มียางขาวมาก กิ่งแตกออกรอบข้อ
  ใบ ใบเดี่ยวเรียงรอบข้อๆ ละ 6-9 รูปขอบขนานแกมใบหอกกลับหรือรูปไข่กลับกว้าง 2-6 เซนติเมตร
  ปลายทู่กลมหรือเว้าเล็กน้อย
  ดอก ดอกช่อออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวแกมเหลืองดอกหอม
  ผล เป็นฝักออกคู่ยาว รูปกลมยาว
  เมล็ด มีขนาดเล็ก มีปุยทำให้กระจายได้ไกล
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เนื้อไม้ใช้แกะสลักทำดินสอ นยมปลูกเป็นไม้ประดับใช้เปลือกต้นแก้ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ แก้บิด สมานลำไส้ ขับระดู การทดลองในสัตว์พบว่าสารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด รักษาแผลเรื้อรังและต้านเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
ข้อมูลพื้นบ้าน เปลือกใช้รักษาโรคบิด ขับระดู แก้ไข้ ขับน้ำนม แก้ท้องเสีย แก้ไอ รักษาเบาหวาน ใบใช้พอกดับพิษต่างๆ รากเป็นยาขับลมในลำไส้แก้โรคมะเร็ง Latex จากต้น อุดฟัน แก้ปวดฟัน
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูน้อย อนันต์วัฒนชัย
  กลับไปตอนต้น
   
โมก
ชื่อพื้นเมือง โมก, โมกบ้าน, โมกซ้อน, หลักป่า, ปิจงวา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrightia religiosa , Benth.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ -
การกระจายพันธุ์ ไทย
การขยายพันธุ์ กิ่งปักชำ เมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นไม้พุ่มยืนต้น เปลือกเรียบเกลี้ยง มีสีน้ำตาลคล้ำ และมีจุดเล็กๆ สีขาวประอยู่ทั่วไป
  ใบ มีขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เนื้อใบบางรูปรี หรือรูปหอกกว้าง 0.8-2.0 เซนติเมตร ยาว 1.3-5.0 เซนติเมตร
  โคนใบสอบหรือมน ขอบใบเรียบ มีลายใบ แหลมบาง มันบาง ก้านใบยาว 1-2 เซนติเมตร
  ดอกช่อ มีสีขาว ช่อละประมาณ 4-8 ดอก ปลายจะแยกเป็นแฉก มีโคนติดกันเป็นหลอด
  ผล ออกเป็นฝักคู่
  เมล็ด รูปกระสวน ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร ข้างหนึ่งมีขนปุย เพื่อให้เมล็ดปลิวไปตามแรงลม
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้รากผสมเป็นยารักษาโรคผิวหนังจำพวกโรคเรื้อน ลำต้นผสมกับผลมะตูมอ่อน เถาสิงโตทั้งต้นและ
  ว่านมหากาฬทั้งต้นต้มดื่มรักษาโรคเบาหวาน
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นไม้พุ่มและยืนต้นขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม ใช้เป็นไม้ประดับและปรุงยารักษาโรคได้
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูกฤติยา มาลัย
  กลับไปตอนต้น
   
ไผ่เหลือง
ชื่อพื้นเมือง ไผ่เหลือง, ไร่ใหญ่, ไผ่หลวง, ไผ่จีน (เหนือ) รีไซ ไผ่ลาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bambusa vulgaris, Schrad
ชื่อวงศ์ GRAMINEAE
ชื่อสามัญ Feathery Bamboo, Golden Bamboo
การกระจายพันธุ์ จีน ญี่ปุ่น อินโนนีเซีย เอเซียเขตร้อน แอฟริกา อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
การขยายพันธุ์ แยกกอ
ลักษณะ ต้น ไม้ขนาดใหญ่เป็นกอ ส่วนบนของลำเกลี้ยง และมีสีเหลืองเขียว
  ใบ ใบเดี่ยวเป็นมันเรียบเกลี้ยง มีลักษณะเป็นรูปหอกปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ท้องใบมีขนละเอียด
  ดอก ดอกไผ่จะออกเป็นช่อ
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร แพทย์แผนโบราณได้ใช้ตาประมาณ 7 ตา เอามาต้มหรือฝน รับประทานเป็นยาแก้ตกเลือดมาก
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้มงคล
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุมาลี มนิล
  กลับไปตอนต้น
   
ต้นมะขาม
ชื่อพื้นเมือง ต้นมะขาม, ตะลบ, ม่องโคล้ง, มอกเล, หมากแกง, อำเปียล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica , Linn.
ชื่อวงศ์ CAESAKOUBUACEAE
ชื่อสามัญ Tamarind, Sampa
การกระจายพันธุ์ ทำได้โดยการเพาะเมล็ด มะขามชอบแดด ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด
การขยายพันธุ์ ทำได้โดยการนำต้นกล้ามาปลูก การทาบกิ่ง ติดตา ต่อกิ่ง
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา
  ใบ เป็นใบประกอบใบเล็กออกตามกิ่งก้านเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขนาน ใบมน
  ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็กๆ กลีบดอกสีเหลืองตรงกลางมีจุดประสีแดง
  ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา
  เมล็ด เป็นสีน้ำตาลเกรียม
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เมล็ด สำหรับการถ่ายพยาธิตัวกลม, พยาธิเส้นด้าย ใบขับเสมหะ แก่นของลำต้น ขับโลหิต เนื้อของผล
  เป็นยาระบาย, ขับเสมหะแก้ไอ
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้เนื้อหุ้มเมล็ดคลุกเกลือรับประทาน ระบายท้อง แก้ไอ ขับเสมหะ ถ่ายพยาธิ ใช้เมล็ดต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อยรับประทานเนื้อทั้งหมด 1 ครั้ง หรือคั่วให้เหลืองกะเทาะเปลือก แช่น้ำให้นิ่ม รับประทานเช่นถั่ว
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูมยุรี อัญโพธิ์
  กลับไปตอนต้น
   
มะขามเทศ
ชื่อพื้นเมือง มะขามเทศ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pithecellobium dulce , Benth
ชื่อวงศ์ MIMOSACEAE
ชื่อสามัญ Madras Thorn , Manila Tamarind
การกระจายพันธุ์ เอเซียให้ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกากลาง
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขามากมายรอบต้น
  ใบ สีเขียว
  ดอก สีขาว หรือสีเหลืองอ่อนๆ ออกตามง่ามยอด
  ผล เป็นฝักโค้งมีเนื้อสีขาว สีแดง
  เมล็ด แบนสีดำ
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้ทางยา และรับทานได้
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูมยุรี อัญญะโพธิ์
  กลับไปตอนต้น
   
หางนกยูง
ชื่อพื้นเมือง หางนกยูงฝรั่ง นกยูงฝรั่ง สัมพอหลวง อินทรี หงอนยูง [ภาพประกอบ]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Delonix regia , Raf.
ชื่อวงศ์ CAESALPINIACEAE
ชื่อสามัญ Flame of the Forest
การกระจายพันธุ์ เกาะมาคาก์สการ์
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดขยายพันธุ์
ลักษณะ ต้น เป็นพืชยืนต้น ทรงต้นสูงขนาด 50 ฟุต
  ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยขนาดเล็กๆ สีเขียวอ่อน
  ดอก ออกเป็นช่อสีแดงเข้ม สีส้ม สีเหลือง และสีแสด ตามส่วนยอดของลำต้น
  ผล เป็นฝักยาวแบน โค้งงอคล้ายรูปดาบ สีน้ำตาลอมดำ
  ประโยชน์
ข้อมูลจากเอกสาร ให้ร่มเงา ใช้เป็นไม้ประดับได้
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูชุลีกร ฟูฟุ้ง
  กลับไปตอนต้น
   
ส้มมวง
ชื่อพื้นเมือง ส้มมวง (ภาคใต้) ชะมวง (ไทยกลางและตะวันออก)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia cowa, Roxb
ชื่อวงศ์ Guttiferae
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ โดยการใช้เมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นมีขนาดย่อมจนถึงขนาดกลาง
  ใบ จะมีลักษณะแข็งและยาวหนา คล้ายกับใบมะดัน
  ดอก ดอกเล็กกลีบดอกจะแข็งเช่นมะดันสีนวลเหลืองมีกลิ่นหอม
  ผล ผลโตเส้นผ่าศูนย์กลาง (รวมกลีบเลี้ยง) 3-4 ซ.ม.
  เมล็ด เมล็ดสีส้มอ่อน เมล็ดรูปขอบขนาน ยาว 13-20 มิลลิเมตร
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร สรรพคุณรากปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ แก้บิด ต้นให้ยางใสที่ใช้ทางยาได้ ใบใช้ปรุงยา
  เป็นยากัดฟอกเสมหะ และโลหิต แก้ไอ ใบอ่อนกินได้มีรสเปรี้ยว ผลหั่นเป็นแว่น
  ตากแห้งใช้กินเป็นยาแก้บิด
ข้อมูลพื้นบ้าน ใบใช้แนม หรือ ปรุงอาหาร ขาหมูต้มใบชะมวง เป็นอาหารที่รู้จักทั่วไป
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูลัดดาวัลย์ จันทร์อำไพ
  กลับไปตอนต้น
   
ลำจวน
ชื่อพื้นเมือง เตยทะเล เตยสื่อสาร การะเกด ลำเจียก ลำจวน รัญจวน ลำมะเจียก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus odoratissimus , Linn. F.
ชื่อวงศ์ PANDANACEAE
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์ ขึ้นอยู่ริมหาดทราย ในภาคตะวันออกและภาคใต้
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ขนาดเล็กลำต้นมีหนามแหลมสั้นๆ สีขาวอมน้ำตาล
  ใบ เป็นรูปหอกแหลมยาว ขอบใบหยักมีหนามแหลมสีขาว
  ดอก เพศผู้มีขนาดเล็กออกเป็นช่อยาวสีขาว เพศเมียสีเขียวอยู่ชิดติดกันเป็นก้อน
  ผล เป็นรูปลิ่มสี่เหลี่ยม ปลายมีหนามสั้นๆ
  เมล็ด กลม สีดำแข็ง
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร รากและเปลือกให้ใยใช้ทำเชือก ใบสานทำเสื่อ ทำใบเรือ หรือรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ
  แก้นิ่ว ดอกผสมยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ
ข้อมูลพื้นบ้าน ใบใช้ทำเชือก สานทำเป็นเสื่อ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุพัตรา พรหมบุตร
  กลับไปตอนต้น
   
ชะเอมไทย
ชื่อพื้นเมือง เม่าไข่ปลา, ชะเอมไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ ALBIZIA MYRIOPHYLLA BENTH
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ ชะเอมป่า ตาลอ้อย ส้มป่อยหวาน อ้อยช้าง ย่านงาย
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์  
ลักษณะ ต้น ไม้เถายืนต้น มีหนามตามลำต้นและกิ่งก้าน
  ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ยาว 10-15 เซนติเมตร
  ดอก ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นพู่ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม
  ผล ผลเป็นฝัก สีเหลืองถึงน้ำตาล
  เมล็ด เมล็ดจะมีรอยนูน
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร รากเป็นยาแก้กระหายน้ำและเป็นยาระบาย ผลขับเสมหะ เนื้อไม้มีรสหวานแก้โรคในคอ แก้ไอขับเสมหะ
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้เป็นยา
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูมงคล คงทอง
  กลับไปตอนต้น
   
มะหวด
ชื่อพื้นเมือง กะช่ำ กำซำ (กลาง) กำจำ (ใต้) มะหวด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepisanthes rubiginosa Leenh.
ชื่อวงศ์ SAPINDACEAE
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์ ในประเทศไทยทั่วทุกภาค
การขยายพันธุ์ เมล็ด
ลักษณะ ต้น ไม้ต้นสูง 5-10 เมตร
  ใบ ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปขอบใบขนาน
  ดอก ดอกช่อสีขาว ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก
  ผล ผลอ่อนสีแดง สุกสีดำ คล้ายลูกหว้า
  เมล็ด รูปไข่
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร รากแก้ไข้ แก้พิษฝีภายใน ตำพอกศีรษะแก้ไข้ ปวดศีรษะ และพอกรักษาโรคผิวหนังผื่นคัน
ข้อมูลพื้นบ้าน เมล็ด แก้โรคไอหอบ ไข้ซางเด็ก ไอกรน
  ผล บำรุงกำลัง
  ราก ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม แก้ซาง
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูจินตนา รอดน้อย
  กลับไปตอนต้น
   
การะเกด
ชื่อพื้นเมือง เตยทะเล เตยสื่อสาร การะเกด ลำเจียก ลำจวน รัญจวน ลำมะเจียก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus odoratissimus , Linn. F.
ชื่อวงศ์ PANDANACEAE
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์ ขึ้นอยู่ริมหาดทราย ในภาคตะวันออกและภาคใต้
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ขนาดเล็กลำต้นมีหนามแหลมสั้นๆ สีขาวอมน้ำตาล
  ใบ เป็นรูปหอกแหลมยาว ขอบใบหยักมีหนามแหลมสีขาว
  ดอก เพศผู้มีขนาดเล็กออกเป็นช่อยาวสีขาว เพศเมียสีเขียวอยู่ชิดติดกันเป็นก้อน
  ผล เป็นรูปลิ่มสี่เหลี่ยม ปลายมีหนามสั้นๆ
  เมล็ด กลม สีดำแข็ง
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร รากและเปลือกให้ใยใช้ทำเชือก ใบสานทำเสื่อ ทำใบเรือ หรือรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ
  แก้นิ่ว ดอกผสมยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ
ข้อมูลพื้นบ้าน ใบใช้ทำเชือก สานทำเป็นเสื่อ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุพัตรา พรหมบุตร
  กลับไปตอนต้น
   
มะขามป้อม
ชื่อพื้นเมือง กำทวด กันโตด มั่งลู่ สันยาส่า มะขามป้อม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica , Linn.
ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ Emblic Myrobalan Malacca Tree
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้น ลำต้นมักคดงอบ้างเล็กน้อย เปลือกสีน้ำตาลอมเทาผิวเรียบ
  ใบ เป็นช่อ แต่ละช่อมีใบย่อยเล็กๆ รูปขอบขนาน ติดเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน
  ดอก สีขาว หรือนวล มีขนาดเล็กมาก รวมเป็นกระจุกตามง่ามใบบริเวณโคนกิ่งแขนง
  ผล ผลสด รูปกลม ผิวเรียบ สีเขียวอ่อนค่อนข้างใสมีเส้นริ้วตามยาว 6 เส้น
  เมล็ด กลม สีเขียวเข้ม
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เนื้อไม้ใช้ทำเสาเข็ม ทำด้ามเครื่องมือเครื่องใช้การเกษตร ทำฟื้นและถ่าน เปลือกและใบ
  ใช้ย้อมผ้า น้ำคั้นผลสดแก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ ยางผลใช้หยอดตารักษาเยื่อตาอักเสบ
  ดอกใช้เข้าเครื่องยาเป็นยาเย็นและยาระบาย
ข้อมูลพื้นบ้าน ผลใช้รับประทานแก้กระหายน้ำ แก้กระหายน้ำ แก้ไอ ขับเสมหะ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูนงเยาว์ ประเดิมชัย
  กลับไปตอนต้น
   
แก้ว
ชื่อพื้นเมือง พิกุลป่า กุน แก้ว ชางดง พิกุลเถื่อน บุหงาตันหยง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimusops elengi , Linn
ชื่อวงศ์ SAPOTACEAE
ชื่อสามัญ Bullet Wood
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นพรรณไม้ยีนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่จะแผ่กิ่งก้านเป็นพุ่มกว้างตรงส่วนยอด
  ใบ เป็นรูปมนรี ตรงปลายแหลมใบมีสีเขียวเป็นมันเลื่อมกว้าง 3-6 เซนติเมตร
  ยาว 5-12 เซนติเมตร
  ดอก มีสีขาวนวลขอบกลีบดอกจะลักเล็กน้อย จะบานตอนใกล้รุ่งมีกลิ่นหอมมาก
  ผล เป็นผลสด รูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว
  เมล็ด เป็นรูปมนรีสีดำ
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ส่วนที่ใช้ใบใช้ฆ่าเชื้อกามโรค ดอกใช้ทำยาบำรุงหัวใจ กลิ่นหอมใช้เข้าเครื่องยาไทย
  รักษาลมขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอชื่นใจ กระพี้รักษาเกลื้อน รากใช้เป็นยาขับเสมหะ
  รักษาลม เปลือกใช้ต้มอมแก้กลิ่นปาก
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นพืชสมุนไพร บำรุงหัวใจ แก้เจ็บคอ ใช้บำรุงครรภ์ และแก้อาการท้องผูก ส่วนดอก
  เอาตากแห้งแล้วใช้อบเสื้อผ้าให้มีกลิ่นหอม
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูกมลชนก ชุ่มเลิศ
  กลับไปตอนต้น
   
น้ำเต้าญี่ปุ่น
ชื่อพื้นเมือง น้ำเต้าญี่ปุ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crescentia cujete , Linn Calabash Tree
ชื่อวงศ์ BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ น้ำเต้าตัน, น้ำเต้าญี่ปุ่น
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ -
ลักษณะ ต้น สีน้ำตาลเข้ม เป็นพุ่มโปร่งแสงส่องลงถึงด้านล่าง
  ใบ สีเขียวอ่อน
  ดอก สีเขียวอมเหลืองมีลายม่วงแดง
  ผล ผลกลมใหญ่คล้ายผลน้ำเต้า เปลือกหนาแข็ง ผลแก่เป็นสีเขียว สีเนื้อมาก
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร รูปทรงสวยงามสะดุดตา นิยมใช้ปลูกประดับสวน
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูอรทัยศรี จิตต์บรรเทา
  กลับไปตอนต้น
   
โนรา
ชื่อพื้นเมือง โนรา กำลังช้างเผือก (เหนือ) พญาช้างเผือก สะเลา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hiptage bengalersis , Kurz
ชื่อวงศ์ MALPIGHIACEAE
ชื่อสามัญ HIPTAGE
การกระจายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดในเอเซียใต้
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น ไม้เถาขนาดใหญ่
  ใบ ใบเดี่ยว รูปวงรี หรือวงรีแกมขอบขนานกว้าง 4-11 เซนติเมตร ยาว 5-18 เซนติเมตร
  ดอก ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ กลีบดอกสีชมพูแกมเหลืองมีกลิ่นหอม
  ผล ผลแห้งไม่แตก มีปีก 3 ปีก
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร แก่น บำรุงกำหนัด เป็นยาอายุวัฒนะ เจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ
  เป็นไม้ประดับ และมีคุณสมบัติป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูทองม้วน ยาทะเล
  กลับไปตอนต้น
   
มะปราง
ชื่อพื้นเมือง มะปราง, สตา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bouea macrophylla , Griff
ชื่อวงศ์ ANACARDIALEAE
ชื่อสามัญ Plum Mango
การกระจายพันธุ์ แถบเอเซีย ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด ตอน ต่อกิ่ง
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้นสูง 10-20 เมตร
  ใบ ใบเดี่ยว เหนียวเป็นมัน รูปรียาว ปลายเรียวแหลมมีติ่ง
  ดอก ดอกเป็นช่อแยกแขนงออกจากซอกใบลักษณะดอกสีเหลือง
  ผล รูปรีสีเหลือง หรือส้มมีทั้งรสเปรี้ยวและหวาน
  เมล็ด กลมรี
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ราก ใช้เป็นยาถอนพิษไข้ต่างๆ ผลใช้รับประทานเป็นผลไม้
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้รากถอนพิษไข้ พิษสำแดง แก้ไข้กลับซ้ำ ไข้มีพิษร้อน
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูชำนาญ สังข์ศรีอินทร์
  กลับไปตอนต้น
   
กาบหอยแครงแคระ
ชื่อพื้นเมือง กาบหอยแครงแคระ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tradescantia spathacea , Swarty
ชื่อวงศ์ COMMELINACEAE
ชื่อสามัญ กาบหอยแครงแคระ
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ -
ลักษณะ ต้น สีม่วงเข้ม แตกกอตั้งตรง ทรงพุ่มผิวหยาบ
  ใบ สีม่วงปนเขียวท้องใบสีม่วง
  ดอก สีขาว
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้คลุมดินในกลุ่มอากาเว่ จันทน์ผา เข็มกุดั่นไม่ควรใช้ร่วมกับกลุ่มต้นไม้
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูจินตนา ชูชุ่มชื่น
  กลับไปตอนต้น
   
แก้วเจ้าจอม
ชื่อพื้นเมือง แก้วเจ้าจอม (Lingum Vitae) [ภาพประกอบ]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Guaiacum officinale , Linn.
ชื่อวงศ์ ZYGOPHYLLACEAE
ชื่อสามัญ Lingum Vitae
การกระจายพันธุ์ แก้วเจ้าจอมมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้
การขยายพันธุ์ -
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ต้นสูง 10-15 เมตร เปลือกต้นสีเทาเข้มกิ่งมีข้อพองเห็นเป็นตุ่มๆ ทั่วไป
  ใบ แผ่นใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้าเป็นมันด้านล่างสีอ่อนกว่า
  ดอก สีฟ้าอมม่วงและซีดลงเมื่อใกล้โรย
  ผล แห้งแตก รูปหัวใจสีเหลืองหรือสีส้ม
  เมล็ด รูปรี สีน้ำตาล
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้ร่วมในยาฟอกเลือด ทำเป็นยาอมแก้ต่อมทอนซิลและหลอดลมอักเสบ
ข้อมูลพื้นบ้าน ยางไม้ใช้เป็นยาขับเสมหะ ยาระบาย ขับเหงื่อ แก้ข้ออักเสบใช้ใส่แผล น้ำคั้นจากใบ
  กินแก้อาการท้องเฟ้อ เปลือกและดอกเป็นยาระบาย ยาชงจากดอกเป็นยาบำรุงกำลัง
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูประพิณ ถิ่นดวงจันทร์
  กลับไปตอนต้น
   
ปีกไก่แดง
ชื่อพื้นเมือง ปีกไก่แดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ -
ชื่อวงศ์ บานไม่รู้โรย AMARANTHALEAE
ชื่อสามัญ ปีกไก่แดง
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด
ลักษณะ ต้น ไม้พุ่มเตี้ย สูงไม่เกิน 1-2 ฟุตสีแดงอมม่วง
  ใบ เป็นใบเดี่ยว
  ดอก คล้ายบานไม่รู้โรยดอกแก่จะแห้งและมีเมล็ดแบน
  ผล ไม่มี
  เมล็ด แบนๆ สีน้ำตาล
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร -
ข้อมูลพื้นบ้าน ไม้ดอกคล้ายบานไม่รู้โรย ต้นสูงไม่เกิน 1-2 ฟุต
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูโกศล วัฒนมะโน
  กลับไปตอนต้น
   
แคทลียา
ชื่อพื้นเมือง แคทลียา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cattleya , Queen Sirikit
ชื่อวงศ์ ORCHIDACEAE
ชื่อสามัญ -
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ แยกลำลูกกล้วย และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ลักษณะ ต้น เป็นปล้อง
  ใบ เป็นใบเดี่ยว กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 27-40 เซนติเมตร ใบหนา
  ดอก เป็นดอกเดี่ยวก้านยาว 14-18 เซนติเมตร มีสีขาว มีกลิ่นหอม
  ผล เป็นผลแห้งแตก
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้ดอกไม้ประดับ
ข้อมูลพื้นบ้าน กล้วยไม้
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูศิริเพ็ญ เม่นหวา
  กลับไปตอนต้น
   
กระถินณรงค์
ชื่อพื้นเมือง กระถินณรงค์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia auriculaeformis , Cunn.
ชื่อวงศ์ Leguminosae Mimosoideae
ชื่อสามัญ Wattle
การกระจายพันธุ์ ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกิเนีย อินโดนีเซีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น ขนาดกลางสูง 4-15 เมตร อาจจะสูงถึง 30 เมตร สีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำ
  ใบ หนาแน่น ใบกว้าง 1-6 ซม. ยาว 8-20 ซม. ปลายเรียวแหลม โค้งเป็นรูปเคียว
  ดอก ดอกเล็กๆ เป็นกระจุกจำนวนมาก ปลายแยกจากันกลีบดอก 5 กลีบ
  เกสรเพศผู้สีเหลือง กลิ่นหอม
  ผล ฝักแบนกว้าง 1-1.3 ซม. บิดม้วนเป็นวงกลม 1-3 วง ฝักอ่อนสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  เมล็ด มี 5-12 เมล็ด เมล็ดเล็ก สีน้ำตาล เป็นมัน
  ประโยชน์
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้ประดับ และปลูกเป็นสวนป่า จากอนุกรมวิธานพืช
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นรั้วบ้าน เป็นสวนป่า เป็นไม้โตเร็วอเนกประสงค์ ปลูกทำพื้นและถ่าน
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูเบญจพร ผูกผา
  กลับไปตอนต้น
   
มะกอกน้ำ
ชื่อพื้นเมือง มะกอกน้ำ สารภีน้ำ สมอพิพ่าย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Elaeocarpus hygrophilus , kurz
ชื่อวงศ์ ELAEOCAPACEAE
ชื่อสามัญ -
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ ตอนกิ่ง เมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ยืนต้น
  ใบ ใบเรียวยาวประมาณ 3-4 นิ้ว ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน
  ดอก เป็นช่อเล็กๆ สีขาว
  ผล รูปไข่ยาวรีสีเขียว
  เมล็ด แข็งขรุขระ
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ผลใช้ดองรับประทาน รสเปรี้ยวฝาดทำให้ชุ่มคอ เมล็ดอาจกลั่นได้น้ำมันคล้ายโอลีฟ (olive oil)
  ดอก แก้พิษโลหิต กำเดา ริดสีดวงในลำคอ บำรุงธาตุ
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูวรรณศิริ ดัดแวว
  กลับไปตอนต้น
   
ข่อย
ชื่อพื้นเมือง ข่อย ส้มฝ่า ส้มพ่อ (หนองคายภาคเหนือ) ถักไม้ฝอย (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Streblus asper , Lour.
ชื่อวงศ์ MORACEAE
ชื่อสามัญ Siamese Rough Bush, Tooth Brush Tree
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ โดยใช้เมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  ใบ ขนาดเล็กหนาแข็ง จะสากคายคล้ายกับกระดาษทราย ขอบใบหยักแบบซี่ฟัน
  ดอก ดอกตัวผู้จะรวมกันเป็นช่อดอก ก้านดอกสั้น สีเหลืองอมเขียว ดอกตัวเมียสีเขียว
  ก้านยาว
  ผล เมื่อสุกสีเหลืองอ่อน เปลือกนอกนุ่ม
เมล็ด กลมคล้ายเม็ดพริกไทย  
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เปลือกต้นแก้โรคผิวหนังรักษาแผล เมล็ดบำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลม กิ่งสดใช้เป็นไม้สีฟันได้
  ใบคายใช้ขัดไม้และงาช้าง
ข้อมูลพื้นบ้าน เปลือกต้นแก้โรคท้องร่วง บิด รำมะนาด ปวดฟัน เมล็ดผสมเป็นยาอายุวัฒนะ ใบ ปิ้งไฟ
  ชงดื่ม เป็นยาระบาย
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูพิศมัย เย็นทรวง
  กลับไปตอนต้น
   
เฟื่องฟ้า
ชื่อพื้นเมือง เฟื่องฟ้า ดอกกระดาษ ดอกโคม ดอกต่างใบ ศรีราชา ตรุษจีน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bougainvillea spectabilis , Willd.
ชื่อวงศ์ NYCTAGINACEAE
ชื่อสามัญ Bougainvillea
การกระจายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดในบราซิล
การขยายพันธุ์ กิ่งปักชำ
ลักษณะ ต้น เป็นพรรณไม้เถากลางแจ้งชอบแสงแดด มีหนามคมติดเป็นระยะๆ เจริญเติบโตเร็ว
  เลื้อยตามรั้วบ้าน
  ใบ เป็นรูปไข่ปลายใบแหลม
  ดอก มีหลายสี เช่น สีขาว สีบานเย็น สีแดง สีม่วงและสีชมพู
  ผล -
เมล็ด -  
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้เป็นไม้ประดับ
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูกุศล ศรีไทย
  กลับไปตอนต้น
   
บัวผัน
ชื่อพื้นเมือง บัวผัน บัวผันลูกผสม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea hybrids
ชื่อวงศ์ NYMPHAEACEAE
ชื่อสามัญ Tina
การกระจายพันธุ์ บัวผันมีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาใต้ แพร่กระจายพันธุ์ในเขตร้อนทั่วโลก
การขยายพันธุ์ แยกเหง้า แยกต้นอ่อน
ลักษณะ ต้น ทอดเลื้อยยาวในดิน ใต้ผิวน้ำ
  ใบ เป็นใบเดี่ยวมีก้านใบยาวมากกว่า 20 เซนติเมตร มีสีน้ำตาลแดงไม่มีขน
  ตัวใบเรียบผิวน้ำ มีขนาด กว้าง 18-24 เซนติเมตร ยาว 21-30 เซนติเมตร
  รูปร่างค่อนข้างกลมหูใบเปิดกว้าง 30 องศา
  ดอก เป็นดอกเดี่ยว
  ผล เป็นผลมีเนื้อหลายเมล็ด
  เมล็ด เมื่อแก่จะจมอยู่ใต้ผิวน้ำ
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้ประกอบอาหาร และทางยา
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูภาวิณี คำสายพรม
  กลับไปตอนต้น
   
เข็ม
ชื่อพื้นเมือง เข็ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ixora , spp.
ชื่อวงศ์ (Family Name) : Rubiaceae
ชื่อสามัญ (Common Name) : West Indian Jasmine
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด กิ่งชำ กิ่งตอน
ลักษณะ ต้น เป็นไม้พุ่ม
  ใบ แข็ง หนา ดก สีเขียวแก่
  ดอก ออกเป็นช่อแบนใหญ่ ตามยอดของกิ่งและแขนง ดอกย่อยมีกลีบ 4-5 กลีบ
  ผล เป็นผลกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร รากมีรสหวานใช้รับประทานแก้โรคตา เจริญอาหาร ใบใช้เป็นยาฆ่าพยาธิ ดอกแก้โรคตาแดง
  ตาแฉะ ผลแก้โรคริดสีดวงในจมูก
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูอังคณา บัวผาง
  กลับไปตอนต้น
   
ชาฮกเกี้ยน
ชื่อพื้นเมือง ชาฮกเกี้ยน ชาดัด ชาญวน ข่อยจีน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ehretia microphylla , Lamk
ชื่อวงศ์ EHRETIACEAE
ชื่อสามัญ -
การกระจายพันธุ์ จีน, ไทย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำ และตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น ไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลาง
  ใบ ใบเป็นจักเล็กๆ คล้ายใบข่อยแต่ยาวและใหญ่กว่า
  ดอก เป็นดอกช่อคล้ายดอกส้มเขียวหวาน
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ในกิ่งและใบของต้นชามีคาเฟอีนประมาณ 1-4 % เทนนิน 7-15 % และมีน้ำมันระเหยใช้เป็นเครื่องดื่ม
  และใช้เป็นยาปรุงยามรมแก้หืด
ข้อมูลพื้นบ้าน คนจีนใช้ใบอ่อนๆ มาปรุงแต่งอบกลิ่นใบชา นำไปขาย สำหรับคนเดินทางไกลใช้เมี้ยงอมไป 1 คำ ทำให้ชุ่มคอ
  แก้กระหายน้ำ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูนิตยาภรณ์ แก้วเพชร
  กลับไปตอนต้น
   
ดอนญ่าขาว
ชื่อพื้นเมือง ดอนญ่าขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mussaemda philippica A Rich cv. Pora Aurora
ชื่อวงศ์ Rubiaceae
ชื่อสามัญ ดอนญ่าขาว ดอนญ่าออโรร่า ดอนญ่าลูซ
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์  
ลักษณะ ต้น สีน้ำตาล
  ใบ สีเขียวอ่อนมีขน
  ดอก สีเหลืองขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงสีขาว กลีบเลี้ยงสีชมพู
  ประโยชน์
  ข้อมูลจากเอกสาร
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูบังอร อ้อวิจิตร
  กลับไปตอนต้น
   
มิ๊กกี้เมาส์
ชื่อพื้นเมือง มิ๊กกี้เมาส์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ochna kirkii , Oliv
ชื่อวงศ์ Ochnaceae
ชื่อสามัญ Mickey Mouse
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ กิ่งชำ ตอน
ลักษณะ ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ต้นเป็นต้นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด
  เจริญงอกงามได้ดีในดินที่ร่วนซุย
  ใบ เป็นใบเดี่ยว มิ๊กกี้เมาส์นี้มีใบที่หนาและเป็นมัน
  ดอก ออกดอกเป็นช่อ อยู่ตามปลายกิ่งหรือส่วนง่ามกิ่ง ตรงส่วนยอด
  ผล เมื่อดอกโรยก็จะติดผลขึ้นมา ลักษณะเป็นรูปกลมๆ
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้เป็นไม้ประดับ
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูพรทิพย์ ศรีนวล
  กลับไปตอนต้น
   
บานเย็น
ชื่อพื้นเมือง บานเย็น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mirabilis jalapa , Linn.
ชื่อวงศ์ NYCTAGINACEAE
ชื่อสามัญ Marvel of Pen Four o’clock Plant
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ เมล็ด
ลักษณะ ต้น สีแดง ไม้พุ่ม สูงราว 2 ฟุต
  ใบ สีเขียว ออกเป็นคู่สลับ ใบรูปหอก ปลายแหลม เส้นกลางใบสีเหลืองอ่อน
  ดอก บานตอนเย็น หลากสี ออกดอกทั้งปี
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์ ใบ รักษากรากเกรื้อน ตำสด อุ่นไฟแล้วพอกฝี น้ำที่คั้นจากใบใช้ทาหรือล้างแผลแก้คัน
  ดอก คั้นน้ำ รักษาอาการกระอักเลือด และอาเจียนเป็นเลือด
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงาม
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุทิน รุ่งเรือง
  กลับไปตอนต้น
   
ตะโกสวน
ชื่อพื้นเมือง ตะโกสวน พลับ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros malabarica , Kostel
ชื่อวงศ์ EBENACEAE
ชื่อสามัญ ตะโกสวน พลับ
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ ตอน เมล็ด ปักชำ
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้น
  ใบ ใบอ่อนสีแดง
  ดอก สีขาวจนเหลือง มีกลิ่นหอม
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์ เมล็ด กลั่นทำน้ำมัน Tunika คนไทยใช้ผลแก่และเปลือกเป็นยาฝาดสมาน ย้อมแห อวน
  Gum จากผลแก่จะใช้ทาท้องเรือ ไม้ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
ข้อมูลจากเอกสาร สมุนไพร
ข้อมูลพื้นบ้าน  
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูรสสุคนธ์ ผาแดนนอก
  กลับไปตอนต้น
   
น้อยหน่า
ชื่อพื้นเมือง น้อยหน่า (ภาคกลาง) มะแน่ (เหนือ) หมักเขียบ (อีสาน) น้อยแน่ (ใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Annona squamosa , Linn.
ชื่อวงศ์ ANNONACEAE
ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) Sugar-apple Custard apple Sweet-sop
การกระจายพันธุ์ อเมริกากลาง อเมริกาใต้
การขยายพันธุ์ การตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้น สูง 3-5 เมตร
  ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปใบหอก
  ดอก ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ ห้อยลง กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว
  ผล ผลมีสีเขียว มีเปลือกเป็นตุ่มๆ ค่อนข้างกลม
  เมล็ด สีดำเงาลักษณะยาวรี
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร สมุนไพรสวนรุกชาติระบุว่าใบสดและเมล็ดสามารถนำมาคั้นฆ่าเหาได้ 98% ใน 2 ชั่วโมง
ข้อมูลพื้นบ้าน ตำราไทยใช้ใบสดและเมล็ดฆ่าเหาโดยใช้เมล็ดประมาณ 10 เมล็ด ใบสด 1 กำมือ
  ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะพร้าวพอแฉะ ขยี้ให้ทั่วศีรษะ ใช้ผ้าคลุมโพกไว้ประมาณ 10 นาที
  สามารถกำจัดเหาได้
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูบุปผา กันคำ
  กลับไปตอนต้น
   
กัสตาเวีย
ชื่อพื้นเมือง บัวสวรรค์ กัสตาเวีย บัวฝรั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gustavia gracillima , Miers
ชื่อวงศ์ ECYTHIDACEAE
ชื่อสามัญ กัสตาเวีย
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ -
ลักษณะ ต้น เป็นไม้พุ่มต่างประเทศสูง 1-4 เมตร
  ใบ เรียงสลับกันยาว 30-40 เซนติเมตร รูปใบเรียวโคนใบแคบปลายใบกว้าง 10-15 เซนติเมตร ใบอ่อน
  สีม่วงใบแก่สีเขียวเข้ม
  ดอก ขนาดใหญ่เด่นสวยสะดุดตา คล้ายบัวหลวง สมบูรณ์เพศกลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ กลีบดอกแยกกัน
  4-6 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมากเรียงซ้อนกัน
  ผล เปลือกแข็งคล้ายเนื้อไม้ มีเส้นใย หรือมีเนื้อ
  เมล็ด แข็งคล้ายๆ บัวหลวง
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร -
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูโกมินทร์ มูลลักษณ์
  กลับไปตอนต้น
   
โกโก้
ชื่อพื้นเมือง โกโก้ Cocoa Tree โคโค้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Theobroma cacao , Linn.
ชื่อวงศ์ STERCULIACEAE
ชื่อสามัญ โกโก้
การกระจายพันธุ์ เทือกเขา Andes อเมริกากลาง
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-8 เมตร
  ใบ มีความกว้างเฉลี่ย 12.4 1.9 ซ.ม. ยาวเฉลี่ย 34.1 5.0 ซ.ม. ปลายใบแหลม
  ดอก ดอกมีขนาดเท่าหัวเข็มหมุด สีเขียวอ่อนๆ ก้านดอกสีเขียวยาวประมาณ 1.5 ซ.ม.
  ผล มีลักษณะป้อม ไม่มีคอและก้นไม่แหลม ผิวผลเรียบ ร่องค่อนข้างตื้น
  เมล็ด มีเนื้อในสีม่วง เป็นพวกผสมข้าม เริ่มผลและเก็บเกี่ยวได้ในปีที่ 2 หลังจากปลูก เมล็ดคล้ายกระสวย สีน้ำตาล
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร 1. เมล็ดโกโก้แห้ง ส่งออกต่างประเทศหรือในประเทศ
  2. โกโก้เยลลี่และน้ำโกโก้ ใช้บริโภคเป็นอาหาร (นำเมล็ดคั้นน้ำ)
  3. เมล็ดและเนื้อเยื่อที่ผ่านการคั้นแล้ว นำมาหมัก สกัดน้ำมันใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องสำอาง
ข้อมูลพื้นบ้าน ตำราไทยใช้ เมล็ด บำรุงร่างกาย ไขมันที่แยกได้ ขณะบดเมล็ด นำมาใช้เป็นตัวยาพื้นในการทำยาเหน็บ เนื้อเมล็ดมีสารทีไอโบรมีนและคาเฟอีน มีผลกระตุ้นประสาทส่วนกลางและขับปัสสาวะ
ชื่อผู้ศึกษา ครูเยาวพรรณ บุญทองนุ่ม
  กลับไปตอนต้น
   
ดาหลา
ชื่อพื้นเมือง ดาหลา ตะลา กะหลา จิตะหรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Etlingera elatior , (Jack) Rosemang Smith
ชื่อวงศ์ Zingberaceae
ชื่อสามัญ Torch Ginger
การกระจายพันธุ์ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
การขยายพันธุ์ การแยกหน่อ การแยกเหง้า
ลักษณะ ต้น เป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่าและขิง
  ใบ เป็นรูปรียาว
  ดอก ช่อมีลักษณะดอกแบบ (head) ประกอบด้วยกลีบประดับ
  ผล ลักษณะผลกลุ่ม
  เมล็ด มีสีดำและมีเยื่อเมือกหุ้มเมล็ดอยู่
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร มีการปลูกเป็นไม้ตัดดอกจำหน่าย
ข้อมูลพื้นบ้าน มีการนำหน่ออ่อนและดอกมาใช้เป็นผักประกอบอาหารบางประเภท
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูรัตนาภรณ์ กิตติเจริญรัตน์
  กลับไปตอนต้น
   
วานิลา
ชื่อพื้นเมือง วานิลลา วานิลา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Vanilla planifolia , Andr
ชื่อวงศ์ ORCHIDACEAE
ชื่อสามัญ Vanila
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ ตัดกิ่งปักชำ
ลักษณะ ต้น ลำต้นอวบ ฉีกหักง่าย ต้องมีหลักให้เลื้อยพันขึ้นไป
  ใบ เรียวยาว อวบน้ำ ยาวประมาณ 8-25 เซนติเมตร กว้าง 2-8 เซนติเมตร
  ดอก มีกลิ่นหอม
  ผล เป็นฝัก
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร มีกลิ่นหอม ฝักแก่จะมีสารพวก Vanillin ซึ่งเป็นพวก Aromatic compound
  นำมาใช้ปรุงแต่งกลิ่นและรสของอาหาร ส่วนประกอบในการผลิตเครื่องสำอาง ยาบางอย่าง
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสมศรี คณานับ
  กลับไปตอนต้น
   
กระแตไต่หิน
ชื่อพื้นเมือง กระแตไต่หิน หางนกยูง หางหว้า หางสิงห์ ข้าหลวงหลังลาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Asplenium nidus , Linn.
ชื่อวงศ์ ASPLENIACEAE
ชื่อสามัญ เฟิร์นข้าหลวงหลังลาย
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ สปอร์
ลักษณะ ต้น สีน้ำตาล ทรงพุ่ม ผิวหยาบ
  ใบ สีเขียว
  ดอก -
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้ประดับเป็นไม้กระถางในอาคาร
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูรักจี้ สงวนศรี
  กลับไปตอนต้น
   
นีออน
ชื่อพื้นเมือง นีออน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Leucophyllum frutescens Bush, Barometer
ชื่อวงศ์ SCROPHULARIACEAE
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์ นีออน Texas Ranger, Texas Sage
การขยายพันธุ์ ตอน ปักชำ
ลักษณะ ต้น สีน้ำตาล รูปทรงกลม สูง 3-4 เมตร ผิดละเอียด
  ใบ หลังใบสีเทา ท้องใบสีเงิน หรือสีอ่อนกว่าหลังใบ
  ดอก สีม่วง กลิ่นเหม็น ออกดอกหลายครั้งในรอบปี
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ให้สีอ่อนสว่างกับบริเวณ สามารถปล่อยรูปทรงตามธรรมชาติ และตัดแต่งเป็นรูปทรงต่างๆ ไม่ควรปลูกในที่ร่ม
  เพราะใบจะเป็นสีเขียวไม่สวย
ข้อมูลพื้นบ้าน ไม้ริมทะเล ปลูกเดี่ยวหรือปลูกเป็นกลุ่มได้
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูจำเนียร จะนุรัตน์
  กลับไปตอนต้น
   
แสงจันทร์
ชื่อพื้นเมือง แสงจันทร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pisonia Grandis, R.Br.
ชื่อวงศ์ NYCTAGINACEAE
ชื่อสามัญ Lettuce tree
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ ต้นแสงจันทร์นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ
ลักษณะ ต้น แสงจันทร์เป็นไม้พุ่ม
  ใบ มีใบบางค่อนข้างใหญ่สีเขียวอมเหลือง
  ดอก -
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้พุ่มเพื่อความสวยงาม
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูพัชรา เรือนเป็ง
  กลับไปตอนต้น
   
โกสน
ชื่อพื้นเมือง โกสน กรีกะสม กรีสาเก โกรต๋น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Codiaeum Bariegatum , (L.) Bl., Variegatum
ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ โกสน Croton
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ ใช้ลำต้น กิ่งปักชำ
ลักษณะ ต้น สีน้ำตาล
  ใบ หลากสี เช่น แดง เหลือ ง ลาย จุด
  ดอก -
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้พุ่มสูงตัดแต่งให้เตี้ยที่สุด 0.80-1.00 เมตร ควรใช้ชนิดเดียวกันปลูกในแปลงขนาดใหญ่ เพื่อจะปลูกสลับกับต้นแก้วก็ได้ ต้นที่ปลูกต่ำแต่เล็กจะสวยกว่า
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูกลิ่นแก้ว มาตา
  กลับไปตอนต้น
   
บานเช้า
ชื่อพื้นเมือง บานเช้าสีนวล บานเช้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Turnera subulata , GE Smith
ชื่อวงศ์ TARNERACEAE
ชื่อสามัญ บานเช้าสีนวล Sage Rose
การกระจายพันธุ์ อเมริกาเขตร้อน อินเดีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำ
ลักษณะ ต้น พืชล้มลุก ทรงพุ่มเตี้ย
  ใบ สีเขียว ใบบาง ผิวใบสากรูปมนรี ปลายใบและโคนใบแหลมรี
  ดอก เดี่ยว เป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง ดอกมี 5 กลีบ สีขาว วงในมีสีนวล บานตอนเช้าๆ จะหุบตอนใกล้เที่ยง
  ผล -
  เมล็ด สีดำ
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ประดับให้เกิดความสวยงาม
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูเพียง ไผ่ทอง
  กลับไปตอนต้น
   
มะเดื่อเถาว์
ชื่อพื้นเมือง มะเดื่อเถาว์ ลิ้นเสือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus pumila L
ชื่อวงศ์ MORACEAE
ชื่อสามัญ ตีนตุ๊กแก Climbing Creeping fig, fig
การกระจายพันธุ์ จีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
การขยายพันธุ์ ลำต้น กิ่ง
ลักษณะ ต้น สีน้ำตาล มีรากตามข้อทุกข้อไว้เกาะพื้นผิวล่าง
  ใบ สีเขียว รูปหัวใจ สากมือ
  ดอก -
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ไม้ประดับ
ข้อมูลพื้นบ้าน นิยมประดับทำรั้วบ้าน ตามกำแพง หรือฝาผนัง
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุชาดา เย็นอยู่
  กลับไปตอนต้น
   
ลั่นทมยะวา
ชื่อพื้นเมือง ลั่นทมยะวา ลั่นทมแดง PINK BIGONIG DESERT ROSE
ชื่อวิทยาศาสตร์ ADONIUM OBESUM , BALF
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ ชวนชม Impala lily
การกระจายพันธุ์ อาฟริกาตะวันออก
การขยายพันธุ์ ปักชำ
ลักษณะ ต้น ลำต้นใหญ่โต มีกิ่งเป็นขนาดเล็ก เป็นไม้พุ่มเตี้ย เนื้ออ่อน ลำต้นมียางมาก
  ใบ เป็นใบวงรียาว ขนาดเล็กพอดี และใบมียางมากใบเดี่ยว
  ดอก คล้ายกับดอกผักบุ้ง ออกเป็นช่อสีแดง
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เปลือกและยางขาวจากต้นมีพิษ ทำให้ขากรรไกร และกระเพาะปัสสาวะเป็นอัมพาต ยางใช้อาบลูกดอกล่าสัตว์ได้
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูอมรรัตน์ คงสมจิตต์
  กลับไปตอนต้น
   
ก้ามกุ้งสีทอง
ชื่อพื้นเมือง ก้ามกุ้งสีทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Heliconta Psitlacorum , Lix
ชื่อวงศ์ HELICORMIA PSITTACORUM
ชื่อสามัญ ก้ามกุ้ง
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ ใช้หัว ลำต้น
ลักษณะ ต้น สีเขียวอวบน้ำ
  ใบ สีเขียวแก่
  ดอก สีชมพู แสด เหลือง
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร -
ข้อมูลพื้นบ้าน ปลูกเป็นไม้ประดับ หรือทำสวนหย่อม
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูบังอร ชาติวงศ์
  กลับไปตอนต้น
   
เฟิร์นก้างปลา
ชื่อพื้นเมือง เฟิร์นก้างปลา เฟิร์นก้ามปู เฟิร์นหางปลา เฟิร์นตีนกบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nephrolepis biserrata cv. , Furean
ชื่อวงศ์ OLEANDRACEAE
ชื่อสามัญ Fishtail Fern
การกระจายพันธุ์ คิวบา บราซิล
การขยายพันธุ์ โดยการแยกกอ หรือต้น หรือเพาะสปอร์
ลักษณะ ต้น ออกเป็นกอใหญ่ มีลำต้นสั้น
  ใบ แบบรวม ใบย่อยเรียงตัวกัน สีเขียวเป็นมัน ปลายกลีบย่อยจะแยกออกเป็น 2 แฉก คล้ายหางปู หรือก้างปลา ขอบใบเป็นคลื่น
  ดอก -
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้ประดับเป็นไม้กระถาง
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูศักดิ์ชัย กาญจนบรรเลง
  กลับไปตอนต้น
   
สนฉัตร
ชื่อพื้นเมือง -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Araucana
ชื่อวงศ์ Araucariaceae Neterophylla (Salish ) Franco
ชื่อสามัญ สนฉัตร HELEROPHYLLA (SALISH) FRANCO
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ -
ลักษณะ ต้น สีน้ำตาล
  ใบ เขียว แตกใบเป็นชั้นๆ ใบเล็กๆ
  ดอก -
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้ปลูกเป็นสวนหย่อมที่มีขนาดกว้าง
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูบุญเรือน ลิ้มประวัติ
  กลับไปตอนต้น
   
ทรงบาดาล
ชื่อพื้นเมือง ทรงบาดาล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia Surattensis , Burm F.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ Kalamona, Scrambled Eggs
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น ไม้พุ่มสูง 3-5 เมตร
  ใบ ประกอบแบบขนนก ออกสลับใบย่อย 4-6 คู่ รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 1-2 เซนติเมตร
  ดอก สีเหลืองออกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบเส้นผ่าศูนย์ 2.5-3 เซนติเมตร
  ผล เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 7-20 เซนติเมตร
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ปลูกเป็นไม้ประดับ
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูนงลักษณ์ พึ่งพักตร์
  กลับไปตอนต้น
   
ปาล์มสิบสองปันนา
ชื่อพื้นเมือง ปาล์มสิบสองปันนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phoenix loureirl kunth
ชื่อวงศ์ PALMAE
ชื่อสามัญ Dwarf date palm
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ แยกหน่อ
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ยืนต้นสูง 2 เมตร
  ใบ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว บางเรียว
  ดอก -
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้ประดับ ที่มีความทนต่อแสงแดด ดูแลง่ายและเพื่อความสวยงาม
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นไม้ประดับ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุพรรณี วงศาโรจน์
  กลับไปตอนต้น
   
ปาล์มพัด
ชื่อพื้นเมือง ปาล์มพัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pitehardia pacifiea , Seem.& Wendl
ชื่อวงศ์ PALMAE
ชื่อสามัญ Fiji fan palm
การกระจายพันธุ์ ถิ่นกำเนิดอยู่ในหมู่เกาะแปซิฟิกและเกาะฟิจิ
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น สีน้ำตาล ลำต้นเดี่ยว
  ใบ สีเขียวอ่อน-แก่ รูปพัดเกือบกลม กว้าง 3-5 ฟุต
  ดอก ออกเป็นช่อๆ อยู่ตามโคนก้านหรือตรงทางใบ ดอกสีเหลืองอมน้ำตาล ไม่สมบูรณ์เพศ
  ผล กลม ขนาดเล็ดประมาณ 1 เซนติเมตร ผลสุกสีดำ
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้ประดับที่มีความทนต่อแสงแดด เลี้ยงง่ายเหมาะที่จะปลูกลงดินจะมีขนาดใหญ่
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงามและให้ความร่มรื่น
ชื่อผู้ศึกษา คุณครู เรณู เจียมอ่อน
  กลับไปตอนต้น
   
ปาล์มขวด
ชื่อพื้นเมือง ปาล์มขวด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Roystonea regia , Cllk
ชื่อวงศ์ ARACACEAE (PALMAE)
ชื่อสามัญ Royal palm Cuban royal palm
การกระจายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศคิวบา
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น ลำต้นเดี่ยวไม่มีหน่อสูง 50-70 ฟุต ลำต้นเรียบสีเทาปนน้ำตาล ลำต้นส่วนที่ชิดดินป่องออกขยายโตกว่าส่วนยอด
  ใบ ใบยาว 6-10 ฟุต ก้านใบสั้นใบย่อยแตกออกจากแกนกลาง
  ดอก ช่อดอกยาว 1 ฟุต มีกานดอกสีเขียวสดห่อหุ้มอยู่ดอกสีขาวนวล
  ผล ผลกลมขนาดเล็ก
  เมล็ด เมื่อแก่จะเป็นสีแดง ม่วงอมดำ หรือดำ
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้ประดับที่ใช้ในการปลูกแต่งบ้านและสวน เป็นพันธุ์ที่มีผู้นำเข้ามาปลูกในไทยไม่นานนี้เอง เป็นต้นไม้ที่มีลักษณะลำต้นสวยสง่าเหมือนขวด
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นไม้ประดับ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูวิมล จันทร์งาม
  กลับไปตอนต้น
   
ปาล์มมัน
ชื่อพื้นเมือง -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Blaeis guineenis , Jacq
ชื่อวงศ์ PALMAE
ชื่อสามัญ ปาล์มมัน
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ -
ลักษณะ ต้น สีน้ำตาล ขนาดทรงพุ่ม รูปกทรง ผิวสัมผัส หยาบ
  ใบ สีเขียว
  ดอก สี ตัวผู้สีขาวหม่น ตัวเมียสีขาว
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ไม้ประดับ
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูวราภรณ์ เพ็ชรรุ่ง
  กลับไปตอนต้น
   
ปาล์มจีน
ชื่อพื้นเมือง -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Livistona chinensis , R.Br
ชื่อวงศ์ PALMAE
ชื่อสามัญ ปาล์มจีน ปาล์มเซียงไฮ้
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ โดยการใช้เมล็ด
ลักษณะ ต้น สีน้ำตาล ลำต้นเดี่ยว
  ใบ สีเขียวรูปพัดใหญ่ขอบเป็นแฉกแหลมยาวตอนปลาย
  ดอก -
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ตกแต่งสวนและอาคาร
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูทัฬหภรณ์ พรหมทอง
  กลับไปตอนต้น
   
ปาล์มคิง
ชื่อพื้นเมือง ปาล์มคิง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Archontophoenix alexandrae
ชื่อวงศ์ PALMAE
ชื่อสามัญ Alexamdra Plam, King Plam
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ -
ลักษณะ ต้น สีเทา ขนาดทรงพุ่ม รูปทรง ผิวสัมผัสหยาบ
  ใบ สีเขียว ใต้ใบสีเทาน้ำเงิน
  ดอก สีขาว
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้เป็นไม้ประดับในอาคาร
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูฎาราวรรณ์ อิ่มจาด
  กลับไปตอนต้น
   
มะพร้าว
ชื่อพื้นเมือง หมากอูน มะพร้าว (ทั่วไป) คอส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ย่อ (มลายู,ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cocos nucifera , Linn.
ชื่อวงศ์ PALMAE
ชื่อสามัญ Coconut
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปลูกได้ดีในดินทราย
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ยืนต้น มีลำต้นสูงชะลูด ประมาณ 20-30 เมตร
  ใบ ออกเป็นใบประกอบ มีใบย่อยเป็นแผ่นแคบยาว เรียงสลับเป็นรูปขนนก ปลายใบแหลม
  ดอก ออกตามช่อตามบริเวณกาบที่หุ้ม ดอกหนึ่งมี กลีบดอกประมาณ 6 กลีบ
  ผล เป็นรูปกลมหรือวงรีเปลือกนอกเรียบเกลี้ยง ชั้นกลางเป็นเส้นใยหุ้มชั้นในถึงกะลา
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร -
ข้อมูลพื้นบ้าน เปลือกต้นสดแก้ปวดฟัน และทาแก้หิด เนื้อเป็นยาบำรุงกำลังขับพยาธิ น้ำมะพร้าว เป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย แก้นิ่ว แก้พิษ น้ำมันมะพร้าวใช้เป็นยาบำรุงกำลัง
  แก้โรคผิวหนังแตกและทาผม
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูศรีนภา พูลสวัสดิ์
  กลับไปตอนต้น
   
เล็บครุฑ
ชื่อพื้นเมือง เล็บครุฑ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyxeias spp.
ชื่อวงศ์ RUTACEAE (RUTA)
ชื่อสามัญ เล็บครุฑ
การกระจายพันธุ์ ไทย เขตร้อนและอบอุ่น แถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกาและยุโรป
การขยายพันธุ์ ปักชำ การตอนกิ่งหรือเสียบยอด
ลักษณะ ต้น เป็นไม้พุ่มยืนต้น ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านได้ ลำต้นเป็นข้อ
  ใบ แตกตามข้อลำต้นมีทั้งเรียงเวียนสลับ ออกตรงข้าม หรือเรียงเป็นวงรอบข้อ
  ดอก ดอกช่อที่สมบูรณ์เพศ
  ผล เนื้อนุ่ม
  เมล็ด เมล็ดแข็ง
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้ประดับชนิดหนึ่งที่พบเห็นกันทั่วไป ทั้งความนิยมในการปลูก เป็นไม้กระถางตกแต่งอาคารบ้านเรือน ใช้เป็นไม้ประดับจัดสวนและปลูกเป็นแถวริมรั้วสวยงาม
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูนิธิมาศ ศรีแก้ว
  กลับไปตอนต้น
   
เทียนทอง
ชื่อพื้นเมือง เทียนทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Duranta erecta L
ชื่อวงศ์ BERBENACEAE
ชื่อสามัญ -
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ -
ลักษณะ ต้น สีน้ำตาลอ่อน แผ่กว้างทรงพุ่มผิวละเอียด
  ใบ สีเหลืองทอง
  ดอก สีม่วง
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ตัดแต่งเป็นไม้ดัด ทำรั้ง
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุพิน รุ่งเรือง
  กลับไปตอนต้น
   
ต้นจันหนา
ชื่อพื้นเมือง ต้นจันหนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tarenna hoaensis , Pitord
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE
ชื่อสามัญ -
การกระจายพันธุ์ กัมพูชา ไทย อินโดจีน
การขยายพันธุ์ ตอนกิ่ง เพาะเมล็ด และปักชำ
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ประดับ
  ใบ สีเขียวเรียวมน เนื้อใบค่อนข้างหนา
  ดอก มีกลิ่นหอม ดอกเป็นช่อลักษณะคล้ายช่อเชิงหลั่นยาว 5-6 เซนติเมตร
  ผล ผลสุกมีสีดำ
  เมล็ด มีหลายเมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้ประดับ เนื้อไม้มีรสขม บำรุงเลือดลม เนื้อไม้ใช้ทำเรือ ใบสดใช้รักษาโรค
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูกนกวรรณ กลั่นกรอง
  กลับไปตอนต้น
   
มะเฟือง
ชื่อพื้นเมือง มะเฟือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ayerrhoa carambola , Linn.
ชื่อวงศ์ AYERRHOACEAE
ชื่อสามัญ Star Fruit, Crambola
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ การตอนกิ่ง หรือการใช้เมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น ลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน เปลือกของลำต้นค่อนข้างขรุขระมีตุ่มเล็ก
  ใบ เป็นใบประกอบเรียงเป็นคู่ตามแผง ใบเป็นใบย่อยรูปมนรี ปลายใบแหลม ริมขอบใบเกลี้ยง
  ดอก เป็นดอกช่อสั้นๆ ตามบริเวณกิ่งและลำต้น ดอกสีม่วงอ่อน เป็นดอกขนาดเล็ก
  ผล เป็นรูปเฟืองมีกลีบ 5 กลีบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลสุกแก่เต็มที่ผลเป็นสีเหลืองส้ม
  เมล็ด สีน้ำตาลออกดำ
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ดอก ขับพยาธิ ใบ, ผล ทำยาต้ม ทำให้หยุดอาเจียน ผลมี Oxalic ทำให้เลือดจับเป็นก้อน ระบาย แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้บิด ขับน้ำลาย ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ลดอาการอักเสบ, ใบและราก เป็นยาเย็น ใช้ดับพิษร้อนถอนพิษไข้
ข้อมูลพื้นบ้าน รากมีรสเย็นระงับความร้อน ถอนพิษไข้และพิษสำแดง น้ำคั้นจากลูกมะเฟืองสุกผสมกับสารส้มเล็กน้อย รับประทานเป็นยากัดละลายก้อนนิ่ว ขับปัสสาวะ แก้หนองใน
  รากเป็นกระสาย แก้พิษไข้ซ้ำ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูรุจิเรข ทับทอง
  กลับไปตอนต้น
   
กล้วยพัด
ชื่อพื้นเมือง กล้วยพัด กล้วยลังกา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ravenala madagascariensis , Sonn.
ชื่อวงศ์ STRELITYIACEAE
ชื่อสามัญ -
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ -
ลักษณะ ต้น สีน้ำตาล มีข้อสั้น คล้ายปาลืม ทรงพุ่มผิวหยาบ
  ใบ สีเขียวใบใหญ่คล้ายใบกล้วย เรียง 2 ทาสลับซ้ายขวา
  ดอก สีขาว
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร -
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูปาริชาติ ตันติกิตติ
  กลับไปตอนต้น
   
กระทุ่มบก
ชื่อพื้นเมือง กระทุ่มบก ตะกู ตะโกส้ม (กลาง) ตุ้มขี้หมู
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anthocephalus chinensis , (Lamk.) A.Rich.ex Walp
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE
ชื่อสามัญ Wild Cinchono
การกระจายพันธุ์ ทั่วทุกภาคในประเทศไทย ขึ้นตามป่าดิบและป่าเบญจพรรณใกล้น้ำ
การขยายพันธุ์ -
ลักษณะ ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ลำต้นตรง สูง 15-30 เมตร
  ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 7.5-17.5 เซนติเมตร
  ดอก สีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ดอกเล็กอัดกันแน่น 5 กลีบติดกันเป็นหลอด
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร สามารถลดความดันโลหิตได้ ในอินเดียใช้เปลือกกระทุ่มต้มกินแก้ไข้ แก้ปวดมดลูก แก้โรคลำไส้ และอมกลั้วคอแก้อักเสบของเยื่อเมือกในปาก สมานในโรคท้องร่วง
ข้อมูลพื้นบ้าน เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูณัฐธิยา ติลกอุดมฤกษ์
  กลับไปตอนต้น
   
กระดังงา
ชื่อพื้นเมือง กระดังงา กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ สะบันงา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga odorata ,(Lamk) Hook f.ct.th
ชื่อวงศ์ ANNONACEAE
ชื่อสามัญ กระดังงาไทย
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ ตอน
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นตรง
  ใบ ใบเดี่ยว
  ดอก ช่อออกเป็นกระจุกที่ซอกใบกระจุกละ 4-6 ดอก
  ผล เป็นผลกลุ่ม
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ไม่นิยมปลูกประดับสวนเพราะต้นสูงมาก เหมาะกับพื้นที่ต้องการไม้โตเร็ว
ข้อมูลพื้นบ้าน ดอกกระดังงาไทย ดอกเป็นยาบำรุงหัวใจ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูบุญเสี่ยง ทองมาก
  กลับไปตอนต้น
   
ชมนาด
ชื่อพื้นเมือง ชมนาด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Vallaris glabra , Oktzc
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ ชมนาด ชำมะนาด
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ ปักชำ
ลักษณะ ต้น สีน้ำตาลมีจุดกระ ไม้เถาขนาดกลาง ผิวหยาบ
  ใบ สีเขียวแก่มันเรียบ
  ดอก สีขาวอมเขียว เป็นช่อ 10-15 ดอก มีกลิ่นหอม
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ไม้เลื้อยที่มีดอกขาวสะดุดตา และมีกลิ่นหอม ใช้ได้ทั่วไป ปลูกชั้นซุ้ม หรือปลูกข้างรั้ว
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุภัทรา เนตรวัชระ
  กลับไปตอนต้น
   
คอร์เดีย
ชื่อพื้นเมือง หมันฝรั่ง คอร์เดีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordia coehinehinensis
ชื่อวงศ์ EHRETIACEAE หรือ BORAGINACEAE
ชื่อสามัญ -
การกระจายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดในเวสอินดีสถึงบาร์บาโคสนำมาปลูกในไทยประมาณ 15 ปี
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด หรือตัดกิ่งปักชำ
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้น
  ใบ สีเขียวเข้มคล้ายใบขนุน
  ดอก สีแสด เป็นช่อใหญ่มีรูปทรงกรวย กลีบดอกย่น
  ผล -
  เมล็ด เล็กกลม
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้ประดับ
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูฉวีวรรณ แสนสุทธิ
  กลับไปตอนต้น
   
หอมนวล
ชื่อพื้นเมือง หอมนวล, ช่อมาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Melodorum fruticosum lour
ชื่อวงศ์ -
ชื่อสามัญ ลำดวน,
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ เมล็ด กิ่งตอน
ลักษณะ ต้น ขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร
  ใบ เดี่ยว เรียงสลับกัน รูปรี รูปหอก แกมยาวโคน
  ดอก ดอกเดี่ยว มีกลิ่นหอม
  เมล็ด -
  ประโยชน์
ข้อมูลจากเอกสาร -
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต แก้ลม
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูอุบล อินบุญญา
  กลับไปตอนต้น
   
มะค่าโมง
ชื่อพื้นเมือง มะค่าโมง มะค่าใหญ่ มะค่าหลวง มะค่าหัวดำ ปิง ปิ้น เขง เบง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Afeflia Xylocaspa , Roxb.
ชื่อวงศ์ CAESALPINOACEAE
ชื่อสามัญ -
การกระจายพันธุ์ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งใกล้ๆ แหล่งน้ำทุกภาคยกเว้นภาคใต้
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นครีบและปุ่มปมโคนเป็นพูพอนเปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมน้ำตาล
  ใบ เป็นช่อติดเรียงสลับใบรูปไข่หรือรูปรีๆ โคนใบมนปลายใบสอบทู่ขอบใบเรียบ
  ดอก สีเขียวอ่อนแต้มสีแดงเรือๆ ออกรวมเป็นช่อโตโคนกลีบฐานติดกันปลายแยก
  ผล เป็นฝักแบนแข็งเมื่อฝักแก่จะแตกตามรอยประสาน
  เมล็ด สีดำเป็นมันมีรกสีเหลืองอ่อนเชื่อมเมล็ดให้ติดขอบเมล็ดเป็นแนวตามขวาง
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้ทำเสาพื้นรอด และเครื่องมนต์เครื่องเรือนและไม้บุผนัง ทำกระเบื้องไม้ต่อเรือ เครื่องกลึง แกะสลัก กังหันน้ำ ไม้หมอนรองรางรถไฟ พานท้ายปืน รางปืน ทำกลองโทน
  รำมะนา
ข้อมูลพื้นบ้าน เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง เนื้อในของเมล็ดอ่อนใช้รับประทาน
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูปรานี ชโลทร
  กลับไปตอนต้น
   
พะยอม
ชื่อพื้นเมือง พะยอม กะยอม ขะยอมดง แคน พะยอมดง พะยอมทอง ยางหยวก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorca roxburghii , G.Dom.
ชื่อวงศ์ DIPTEROCARPACEAE
ชื่อสามัญ White merantil
การกระจายพันธุ์ เป็นไม้พื้นเมืองของชาวเอเซีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้นสูง 15-30 เมตร
  ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปขอบขนาน กว้าง 4-6 เซนติเมตร 8-12 เซนติเมตร ขอบใบเป็นคลื่น
  ดอก ออกช่อดอกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม
  ผล ผลเป็นผลแห้งรูปกระสวย มีปีกยาว 3 ปี ปีกสั้น 2 ปีก
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ตำรายาไทยใช้เปลือกต้นต้มเป็นยาฝาดสมานแก้ท้องเดินและลำไส้อักเสบ สารที่ออกฤทธิ์คือแทนนิน ดอกเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ และลดไข้ นอกจากนี้ยังใช้เปลือกต้นเป็นสารกันบูด
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้ทำเสาบ้าน หมอนรองรถไฟ ทำครก สากกระเดื่อง ลูกหีบ ซี่ล้อ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูบุญยืน สัมพะวงศ์
  กลับไปตอนต้น
   
ราชาวดี
ชื่อพื้นเมือง ราชาวดี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Buddieja paniculate Wall
ชื่อวงศ์ LOGANIACEAE
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์ มีถิ่นกำเนินบริเวณเอเซียเขตร้อน
การขยายพันธุ์ ตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น ไม้พุ่มสูง 2-3 เมตร กิ่งก้านโปร่ง
  ใบ เป็นใบประกอบ ด้านหลังใบสีขาว ใบคายเล็กน้อย ขอบใบจักเล็กๆ ใบยาว 3-4 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร
  ดอก เป็นช่อมีแกนกลาง ดอกเป็นหลอดเล็กๆ อยู่โดยรอบ มีสีขาว มีกลิ่นหอมแรง
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร  
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้ปลูกริมกำแพง
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูพิไลวรรณ เมฆสุวรรณ
  กลับไปตอนต้น
   
ชะพลู
ชื่อพื้นเมือง ชะพลู ช้าพลู
ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper Sarmentosum , Roxh.
ชื่อวงศ์ PIPERACEAE
ชื่อสามัญ (Cinnon Name) : Wildbetal leafbush
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ ใช้ต้นปักชำ
ลักษณะ ต้น เป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน
  ใบ ใบเดี่ยวรูปหัวใจ สีเขียวเข้ม
  ดอก ออกดอกตามเป็นช่อ
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร  
ข้อมูลพื้นบ้าน รากเป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเสีย รากและผล ใช้เป็นยาแก้บิด
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูวาสนา บุญอำรุง
  กลับไปตอนต้น
   
พยูง
ชื่อพื้นเมือง พยูง ขะยุง แดงจีน ประดูเสน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia Cochinchiensis , Pierre
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ Siamese Redwood
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ การตอนกิ่ง และเพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น ไม้ต้นผลัดใบ สูง 15-25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ
  ใบ ประกอบรูปขนนก เรียงสลับใบย่อยเรียงสลับ 7-9 ใบ
  ดอก ดอกเล็กสีขาว กลิ่นหอมอ่อนออกตามกันเป็นช่อตามง่ามใบ
  ผล ฝักรูปขอบขนาดแบนบาง กว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร
  เมล็ด มีเมล็ด 1-4 เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร  
ข้อมูลพื้นบ้าน เนื้อไม้สีแดงอม่วงถึงแดงเลือดหมูแก่เนื้อละเอียดแข็งแรงทนทาน ขัดและชักเงาได้ดี ใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึงแกะสลักทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูเบญจวรรณ บุญทองนุ่ม
  กลับไปตอนต้น
   
ชุมเห็ดเทศ
ชื่อพื้นเมือง ชุมเห็ดเทศ ลับมืนหลวง ชุมเห็ดใหญ่ ขี้คาก หมากกะลิงเทศ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia alata , Linn.
ชื่อวงศ์ CAESALIPINIACEAE
ชื่อสามัญ Ringworm Bush, Camdelabra Bush Seven Golden Comdle-stick
การกระจายพันธุ์ พบขึ้นทั่วไปในประเทศไทย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น ไม้พุ่มสูง 1-3 เมตร แตกกิ่งออกด้านข้างในแนวขนานกับพื้น
  ใบ ประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรีขอบขนาน หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม
  ดอก สีเหลืองทอง ออกเป็นช่อใหญ่
  ผล เป็นฝักมีครีบ 4 ครีบ
  เมล็ด แบนเป็นรูปสามเหลี่ยม
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้ใบสดเป็นยารักษากลากเกลื่อนได้ผลดี โดยตำแช่กับน้ำเหล้าแล้วทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย พบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อราที่ผมและเล็บใช้ไม่ได้ผล
ข้อมูลพื้นบ้าน ใบและดอก ใบแห้งและดอกสดใช้เป็นยาระบาย ใบสด ตำแช่เหล้าเป็นยาทาภายนอก รักษากลากเกลื้อน
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุคนธ์ ใจทน
  กลับไปตอนต้น
   
พลับพลึง
ชื่อพื้นเมือง พลับพลึง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cainum asiaticum , linn.
ชื่อวงศ์ AMARYLLIDACEAE
ชื่อสามัญ Crunum Lily Cape Fily, Poison Bulb
การกระจายพันธุ์ เขตร้อนของทวีปเอเซีย อินเดีย มาเลเซีย ทางตะวันตกของโพลินีเซีย ออสเตรเลีย
การขยายพันธุ์ แบ่งหัว และแยกกอ
ลักษณะ ต้น หัวแบบหอมรูปร่างเรียวยาว
  ใบ ใบเดี่ยวสีเขียวแกมเหลือง ก้านใบไม่มี
  ดอก ดอกช่อแบบช่อซี่ร่ม ดอกย่อยมีกลิ่นหอม
  ผล เป็นผลแห้งแตกมี 1-5 เมล็ด
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ไม้ประดับ หัวใช้เป็นยาทำให้อาเจียน
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุชาวดี เห่งหอม
  กลับไปตอนต้น
   
ซองออฟจาไมก้า
ชื่อพื้นเมือง ซองออฟจาไมก้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena reflena (decre) , Linn.
ชื่อวงศ์ AGAVACEAE
ชื่อสามัญ ซองออฟอินเดีย
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ ปักชำ
ลักษณะ ต้น สีน้ำตาลอ่อน ทรงพุ่ม ทรงแจกัน
  ใบ ริมใบด่างเหลือง กลางใบสีเขียว
  ดอก สีขาวนวล
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ไม้ประดับอาคาร ตกแต่งอาคารเพราะสามารถตัดแต่งทรงพุ่มได้
ข้อมูลพื้นบ้าน นิยมใช้ปลูกตามมุมอาคาร ตัดแต่งทรงพุ่มได้
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุวรรณี บุญนาค
  กลับไปตอนต้น
   
โยทะกา
ชื่อพื้นเมือง โยทะกา ชงโคดอกเหลือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia Monandra , Kurz
ชื่อวงศ์ CAESALPINIACEAE
ชื่อสามัญ Pink Orchid Tree One-stamened Bauhinia jerusalum Date
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น มีขนาดใหญ่
  ใบ ใบเป็นใบแฝด
  ดอก เป็นดอกที่มีขนาดใหญ่ ออกเป็นช่อ
  ผล เป็นฝักหนา
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร -
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นไม้ประดับ และยังเป็นไม้ในวรรณคดี เช่นรามเกียรติ์
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูประทิน แสงไทย
  กลับไปตอนต้น
   
สะตอ
ชื่อพื้นเมือง สะตอ ปะตา ปาไต
ชื่อวิทยาศาสตร์ Parkia speciosa , Hassk.
ชื่อวงศ์ MIMOSACEAE
ชื่อสามัญ -
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นตรง กิ่งก้านมีขนละเอียด
  ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย 14-18 คู่ กว้าง 1.8-2.2 มิลลิเมตร
  ดอก ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง อัดแน่นเป็นก้อน กลับดอกขาวนวล
  ผล เป็นฝักแบน กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาวได้ถึง 36-45 เซนติเมตร
  เมล็ด เมล็ดกลมรี มีสีเขียว มีกลิ่นฉุน
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ตำรายาไทยใช้เมล็ดรับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้ปัสสาวะและไตพิการ อาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้เมล็ดรับประทาน หรือนำมาประกอบอาหารในการบริโภค และเป็นสมุนไพรเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุภาภรณ์ พราห์มชูเอม
  กลับไปตอนต้น
   
ลิ้นมังกร
ชื่อพื้นเมือง ลิ้นมังกร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sansevlerlatrifasciate , Hort. Ox Prain
ชื่อวงศ์ AGAVACEAE
ชื่อสามัญ ลิ้มมังกร
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ ลำต้น
ลักษณะ ต้น -
  ใบ ลายสีเขียวเข้ม เขียวอ่อน เหลือง
  ดอก สีเหลืองปนเขียว
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้ประดับสวนกรวด หิน เป็นไม้แดดจัดแต่ก็ทนร่มได้ดีมาก สามารถใช้ในอาคารได้
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสมเด็จ บะคะ
  กลับไปตอนต้น
   
กฤษณา
ชื่อพื้นเมือง กฤษณา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aquilaria crassna , Pierre EXH.LEC.
ชื่อวงศ์ THYMELAEACEAE
ชื่อสามัญ Eagle Wood, Aloe Wood
การกระจายพันธุ์ พบในเขตร้อนชื้น ในประเทศไทยพบมาในภาคตะวันออก, ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ลักษณะ ต้น
  ใบ
  ดอก
  ผล
  เมล็ด
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เปลือกของต้นกฤษณาประโยชน์ทางยา รสขม หอมคุมบำรุงโลหิตในหัวใจใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้ลมหน้ามืด
วิงเวียน  
ข้อมูลพื้นบ้าน เกิดตามป่าหรือบนไหล่เขา เป็นไม้จำพวกสารดงในต้นคล้ายกะลำผักเนื้อไม้สีขาวแก่จัดจะเป็นสีดำจัดจนเป็นเงาและแข็งแกร่งความหอมก็ยิ่งทวีมากขึ้น ชาวป่าได้กลิ่นหอมก็เริ่มตัดโคนเพราะเป็นไม้มีค่า ในเอเซียถือเป็นสินค้าที่สำคัญ
ชื่อผู้ศึกษา ครูกฤษณา พินิจชัย
  กลับไปตอนต้น
   
กาซะลอง
ชื่อพื้นเมือง ปีบ กาซะลอง กาดวะลอง ภาษากะเหรี่ยงว่า เต็กตองโพ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Millingtonia hortensis , Linn.F
ชื่อวงศ์ BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์ เป็นไม้ถิ่นเดิมของเอเซียเขตร้อน ชอบอากาศชุ่มชื่น
การขยายพันธุ์ จากเมล็ดหรือจากต้นอ่อนที่เกิดจากรากรอบๆ ต้นแม่
ลักษณะ ต้น ขนาดใหญ่สูง 15-25 เมตร ลำต้นตรง เปลือกหนาสีเทาอมเหลือง แตกเป็นร่อง
  ใบ ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้นเรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปไข่
  ดอก เป็นช่อขนาดใหญ่ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวกลิ่นหอมเป็นหลอดยาว
  ผล เป็นฝักแบน หัวและท้ายแหลม
  เมล็ด แบน มีปีกบางๆ ปลิวไปตามลมได้ไกล ขนาดรวมทั้งปีกประมาณ 1.3 x 2.5 ซม.
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้ประดับที่สวยงามมีกลิ่นหอม ดอกใช้ผสมกับยาสูบมวนบุรี่ทำให้ชุ่มคอ รากใช้เป็นยาบำรุงปอด แก้วัณโรคและปอดพิการ ดอกมีสาร hispidulin
  ซึ่งระเหยได้และมีฤทธิ์ขยายหลอดลม
ข้อมูลพื้นบ้าน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ รูปทรงสวยงามและมีกลิ่นหอม เปลือกแต่ก่อนใช้แทนไม้ก๊อกทำจุกขวด เนื้อไม้ สีขาวอ่อน เลื่อยใสกบตบแต่งชักเงา
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุภาวี โพธิ์ศรี
  กลับไปตอนต้น
   
ยอ
ชื่อพื้นเมือง มะตาเสือ (ภาคเหนือ) ยอ ยอบ้าน (กลาง) แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮองสอน) ยอ (ภาคอีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Morinda citrifolia , Linn.
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์ มีทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน
การขยายพันธุ์ เมล็ดที่แก่
ลักษณะ ต้น ใช้เป็นส่วนผสมกับสมุนไพรอื่นเป็นยารักษาวัณ
  ใบ รสขมเฝื่อน สรรพคุณบำรุงธาตุ แก้ไข้ ฆ่าเหา คั้นน้ำทาโรคเกาต์ ฯลฯ
  ดอก เป็นส่วนผสมของสมุนไพรตัวอื่นเป็นยารักษาโรควัณโรค
  ผล มีลักษณะค่อนข้างกลมหรือทรงกระบอกมน มีตารอบผลสีเขียว แก่สีขาว
  เมล็ด เล็กแก่จัดจะมีสีดำ
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นยาสมุนไพร ยอใช้เป็นสีย้อมผ้า เช่น ผ้าไหม
ชื่อผู้ศึกษา  
  กลับไปตอนต้น
   
ว่านมหากาฬ
ชื่อพื้นเมือง ว่านมหากาฬ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynura Pseudo-chira , DC. Var. hispida Thv
ชื่อวงศ์ ASTERACEAE
ชื่อสามัญ -
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ กิ่ง เมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ล้มลุก มีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำเลื้อยทอดยาวไปตามพื้นดิน
  ใบ ใบเรียงสลับเวียนรอบต้น พืชใบเลี้ยงเดี่ยว รูปใบหอก ขอบใบหยักสีม่วงเข้ม
  ดอก ดอกช่อสีเหลืองทอง
  ผล ผลแห้ง ไม่แตก
  เมล็ด สีดำ
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้รากและใบสดพอกแก้ปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย ถอนพิษปวดแสบ ปวดร้อน ใช้ใบสดทดลองกับผู้ป่วยโรคเริม และงูสวัด สารสกัดจากใบทำให้อัตราการกลับมาเป็นใหม่ของโรคลดลง
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูศรีณัฎฐา ลั่นทมทอง
  กลับไปตอนต้น
   
สาละลังกา
ชื่อพื้นเมือง สาละลังกา (ลูกปืนใหญ่ชลบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Counoupita guianensis , AUbl
ชื่อวงศ์ LECYTHIDACEAE
ชื่อสามัญ Cabbib-balltree
การกระจายพันธุ์ อยู่แถบเกาะคาริเบียนในอเมริกาใต้ไม่ใช่เป็นไม้พื้นเมืองของลังกาหรืออินเดีย ลังกาได้มาปลูกประมาณปี พ.ศ.2422 เมืองไทยปลูกปี พ.ศ.2500
การขยายพันธุ์ เพราะด้วยเมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 15-25 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลเข้มแตกเป็นร่อง
  ใบ ยาวรีปลายและฐานใบกว้าง 4-10 ซม. ยาว 10-25 ซม. เกิดตามกิ่งขนาดใหญ่ กลีบเส้นผ่า
  ศูนย์กลางประมาณ 10 ซม. กลิ่นหอม
  ดอก กลีบโค้งมนสีแดง โคนกลีบสีเหลือง 4-7 ซม. กว้าง 3-5 ซม.
  ผล แก่สีน้ำตาลเข้ม เส้นผ่าศูนย์กลาง 15-20 ซม.
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ไม่ประดับ
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา สุวรรณดี พิชยภิญโญ
  กลับไปตอนต้น
   
รางจืด
ชื่อพื้นเมือง รางจืด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia laurifolia , Linn.
ชื่อวงศ์ THUNBERGIACEAE
ชื่อสามัญ กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง เครือเขาเขียว ยาเขียว กายรางเย็น ดุเหว่า ทิดพูด น้ำนอง
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง ที่มักพบอยู่ตามชายป่าดิบ เป็นต้นไม้ใหญ่
  ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ใบสีเขียวผิวเกลี้ยง
  ดอก ดอกเป็นรูปกรวยตื้นๆ ตรงปลายดอกจะแยกออกเป็นแฉกๆ
  ผล เป็นฝักปลายฝักจะแหลมคล้ายกับปากนก
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร -
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้ทำเป็นยาไทย แก้ไข้
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูพนมพร โอวาทสาร
  กลับไปตอนต้น
   
เสลาขาว
ชื่อพื้นเมือง เสลาขาว เสลาเปลือกบาง เบื๋อยสะแอน เส้าขาว เบาะสะแอน เส้าเบาะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia tomentosa , Prest
ชื่อวงศ์ LYTHRACEAE
ชื่อสามัญ เสลา ใบเล็ก
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ ตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น ลำต้นเปลาตรง โคนต้นเป็นพูพอนเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มกลม
  ใบ รูปหอกยาว 11-17 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน
  ดอก สีขาว เมื่อบานเต็มที่กว้าง 3-4 เซนติเมตร
  ผล แข็ง ยาวประมาณ 1-6 เซนติเมตร มีขนสั้นๆ ปกคลุมประปราย
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เนื้อไม้ แข็งปานกลาง เลื่อยผ่าไสกบตบแต่งง่าย เสี้ยนตรงใช้ทำเสากระดานพื้น ฝา รอด ตง เครื่องขน เครื่องเรือน เครื่องเกวียน เรือ ด้านเครื่องมือกสิกรรม
ข้อมูลพื้นบ้าน ทำเครื่องเรือนต่างๆ
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูดรุณ มากคล้าย
  กลับไปตอนต้น
   
การเวก
ชื่อพื้นเมือง การเวก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artabotry Hexapetalus (L.f) , Bhandari
ชื่อวงศ์ ANNONACEAE
ชื่อสามัญ การเวก
การกระจายพันธุ์ พม่า ไทย มาเลเซีย ศรีลังกาและอินโดนีเซีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำ และตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยเนื้อแข็ง
  ใบ ใบเดี่ยวกว้าง 3-4 เซนติเมตร เรียงสลับกัน
  ดอก ดอกเดี่ยว มีสีเหลือง กลิ่นหอม
  ผล เป็นผลกลุ่ม มีเนื้อฉ่ำน้ำ มีสีเหลือง
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร -
ข้อมูลพื้นบ้าน ดอกใช้เป็นเครื่องหอม
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูนันทิวรรณ พ่วงพลับ
  กลับไปตอนต้น
   
ถั่วพู
ชื่อพื้นเมือง ถั่วพู
ชื่อวิทยาศาสตร์ Psophacarpus letragonlobus , (L.) D.C.
ชื่อวงศ์ Leguminosae
ชื่อสามัญ (Common Narne) : Winged Bean
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดปลูก
ลักษณะ ต้น เลื้อย
  ใบ เป็นช่อ ช่อหนึ่งมี 3 ใบ ใบย่อยลักษณะรูปไข่
  ดอก เป็นช่อมีขาวอมม่วง
  ผล เป็นฝักแบนยาวมี 4 ปีก ขอบปีกเว้าเป็นคลื่น
  เมล็ด เมล็ดกลม
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร หัว (ราก) ใช้เผาหรือนึ่งรับประทาน สรรพคุณช่วยบำรุงกำลังเมล็ดแก่ใช้ตากแห้งแล้วบดเป็นผง ละลายกับน้ำ ครั้งละ 4-6 กรัม
  รับประทานวันละ 3 เวลา ก่อนอาหารช่วยบำรุงร่างกาย
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูกนกพร คำภานนท์
  กลับไปตอนต้น
   
เข็มป่า
ชื่อพื้นเมือง เข็มป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Apocynaceae (Apocy)
ชื่อวงศ์ -
ชื่อสามัญ หนำเลี๊ยบ
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ กิ่งตอน
ลักษณะ ต้น เป็นไม้พุ่ม
  ใบ ใบรียาว
  ดอก สีขาว เกสรเหลือง
  ผล รีสีดำ
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร -
ข้อมูลพื้นบ้าน มีไว้รับประทาน
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูเยาวดี โกษะโยธิน
  กลับไปตอนต้น
   
ทองอุไร
ชื่อพื้นเมือง ทองอุไร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tecoma stanr , (L.) Juss ex. H.B.K.
ชื่อวงศ์ BIGNONIACEE
ชื่อสามัญ ทองอุไร Yellow Bulls yellow Blder
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น สีน้ำตาลอ่อน ไม้พุ่มสูง ลำต้นตั้งตรง
  ใบ สีเขียวอ่อน คล้ายขนนก 2 ชั้น ก้านใบย่อยยาว
  ดอก สีเหลืองสด ดอกเป็นช่อมีกลิ่นหอม
  ผล เป็นแบบแห้งแตก
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ไม้ประดับ
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุริษา ชวนปรีชา
  กลับไปตอนต้น
   
หนามพรม
ชื่อพื้นเมือง หนามพรม ขี้แฮด (เหนือ) พรม (กลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carissa Cochinchinensis , Pierre
ชื่อวงศ์ APOCY
ชื่อสามัญ หนามพรม
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ -
ลักษณะ ต้น -
  ใบ ใบเดี่ยว
  ดอก ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง
  ผล ผลสุกรูปกระสวย เมื่อสุกสีม่วงดำ
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้แก่นซึ่งมีรสฝาดเฝื่อน ขมและมันเล็กน้อยบำรุงกำลังให้แข็งแรง
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูพิศิษฐ์ บำรุงศรี
  กลับไปตอนต้น
   
มะฮอกกานี
ชื่อพื้นเมือง มะฮอกกานี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Switeenia macrophylla , King
ชื่อวงศ์ MELIACEAE
ชื่อสามัญ มะฮอกกานีใบใหญ่
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ -
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  ใบ ใบใหญ่เปลือกสีน้ำตาลอมเทา
  ดอก ดอกสีตองอ่อนเป็นช่อ ออกตามง่ามใบ
  ผล ผลกลมยาว ราว 10 เซนติเมตร สีน้ำตาล เมื่อแก่แตกเป็น 5 พู
  เมล็ด รสขมจัด นึ่งให้สุกบดปั้นเป็นเม็ดรับประทานแก้ไข้ตัวร้อน
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้เป็นยา
ข้อมูลพื้นบ้าน เปลือกต้น ฝนทาสมานแผล ต้มดื่มแก้ไข เจริญอาหาร เมล็ด รสขมจัด นึ่งให้สุกบดปั้นเป็นเม็ดรับประทานแก้ไข้ตัวร้อน
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูดวงตา พิพุธวัฒน์
  กลับไปตอนต้น
   
พญาไร้ใบ
ชื่อพื้นเมือง พญาไร้ใบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia tirucatli , Linn.
ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ พญาร้อยใบ เกี๊ยเจียน เคี๊ยะจีน เคี๊ยะเทียน
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ -
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้นสูง 4-7 เมตร ไม่มีหนาม มีน้ำยางสีขาว
  ใบ ใบเดี่ยวออกเฉพาะข้อส่วนปลายยอดลดรูปเป็นแผ่นขนาดเล็ก
  ดอก ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง
  ผล เป็นผลแห้งแตกง่าย
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร พญาไร้ใบจัดเป็นพืชมีพิษ เมื่อสัมผัสกับน้ำยางขาวจากต้นจะทำให้ผิวหนังอักเสบ
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้ยางแต้มกัดหูด เป็นสารร่วมก่อมะเร็ง
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูชาตยา บำรุงศรี
  กลับไปตอนต้น
   
กล้วย
ชื่อพื้นเมือง กล้วย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Banana Musa Sapientum , L.
ชื่อวงศ์ -
ชื่อสามัญ กล้วย
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ แยกหน่อ
ลักษณะ ต้น ลำต้นสูง 0.5 เมตร ด้านนอกสีเขียวอ่อน
  ใบ ใบและก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ เส้นกลางใบสีเขียว
  ดอก (ปลี) ก้านดอกไม่มีขน ใบประดับรูปไข่ ด้านบนสีแดงปนม่วง
  ผล (เครือ) ผลใหญ่
  เมล็ด สีดำ
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ผล ไว้รับประทาน ใบใช้ห่อของหรือห่อขนม ต้น ตากแห้งลอกเป็นกาบใบทำเชือกมันของได้
ข้อมูลพื้นบ้าน มีประโยชน์มากมาย สามารนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น ใบ และทุกส่วนของต้นกล้วย
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูกัลย์ธีรา ฮวดสุนทร
  กลับไปตอนต้น
   
ตะแบก
ชื่อพื้นเมือง ตะแบก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerslroenia floribunda , Jack
ชื่อวงศ์ LVTHRACEAE
ชื่อสามัญ ตะแบก
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ -
ลักษณะ ต้น สีเทามัน มีรอยวงขาว ต้นแก่จะร่อนเป็นแผ่นคล้ายต้นฝรั่ง
  ใบ สีเขียวนวยเป็นในใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นๆ ใบแก่จะเรียบ
  ดอก สีม่วงปนชมพูแล้วเปลี่ยนเป็นขาว
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร -
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูธเนศ พรหมดิษฐ์
  กลับไปตอนต้น
   
เงินไหลมา
ชื่อพื้นเมือง เงินไหลมา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Syngonlum Podophyllum , Schott
ชื่อวงศ์ ARACEAE
ชื่อสามัญ เงินไหลมา
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ ปักชำ
ลักษณะ ต้น สีเขียว
  ใบ สีเขียวลายขาว
  ดอก -
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นพรรณไม้ในงานสถาปัตยกรรม ปลูกเป็นไม้กระถาง ใส่ขวด หรือให้เกาะกิ่งไม้ ใช้เป็นไม้คลุมดินในร่ม ทนน้ำท่วมขัง ปลูกริมถนน
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูชฎาพร อุ่นสนอง
  กลับไปตอนต้น
   
กันเกรา
ชื่อพื้นเมือง กันเกรา, มันปลา, ตำเล้า, ทำเสา, ตราเตรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea Fragrans , Roxb
ชื่อวงศ์ Loganiaceae
ชื่อสามัญ กันเกรา
การกระจายพันธุ์ มีทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, มีมากทางภาคใต้
การขยายพันธุ์ โดยการใช้เมล็ด หรือ ตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น ลำต้นเตกกิ่งต่ำ ปลายกิ่งลู่ลงสู่พื้น เปลือกนอกหยาบ หนา สีน้ำตาลเข้ม
  ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี ปลายแหลมยาว โคนสอบ ขอบเรียบ
  ดอก แรกบานสีขาว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองจนถึงเหลืองอมส้มเมื่อร่วงหล่น
  ผล ผลเล็ก กลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 มม. สีส้มเมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม
  เมล็ด มีเมล็ดเล็กมากและจำนวนมาก
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้เนื้อแข็งทนทานมากทั้งในพื้นดินและในน้ำ ทนปลวกตกแต่งง่ายใช้ทำเสาเรือน เสาสะพาน กระดานปูพื้น ผนัง ประตู หน้าต่าง เครื่องเรือน เครื่องกลึง
  กระดูกงูเรือ โครงเรือ หมอนรถไฟ
ข้อมูลพื้นบ้าน เป็นไม้ที่ขึ้นตามป่าพรุ ป่าดิบบริเวณใกล้ๆ ชายห้วยใช้เป็นสมุนไพร แก่นไม้มีรสเฝื่อน ฝาด ขม เข้ายาบำรุงธาตุ แก้ไข้จับสั่น แก้หืด ไอ ริดสีดวง ท้องมาร
  แน่นหน้าอก ลงท้องเป็นมูกเลือด ขับลม
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูกุณฑลี แสนดี
  กลับไปตอนต้น
   
ทองหลางลาย
ชื่อพื้นเมือง ทองหลางลาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrina Suberosa
ชื่อวงศ์ Papilionaceae
ชื่อสามัญ -
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ โดย เม็ด กิ่งชำ
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้น ขนากสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นมีหนามเล็กๆ
  ใบ คล้ายใบโพธิ์ก้านหนึ่งมี 3 ใบ
  ดอก เป็นแบบดอกถั่วแต่กลีบจะยาวไล่เลี่ยกัน สีแดงสด
  ผล ฝักแบนๆ โคนฝักลีบ พอฝักแก่ปลายฝักจะแตกอ้าออกตามยาว
  เมล็ด สีแดงมน
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เนื้อไม้สีขาวค่อนข้างอ่อนใช้ทำของเล่นสำหรับเด็ก ทำกังหันวิดน้ำ เปลือกใช้ทำเชือก ใช้รักษาดีพิการ แก้ตาบวม ดอกสีแดงสดใช้ย้อมผ้า
ข้อมูลพื้นบ้าน ใบ ทองหลางนำใบอ่อนประกอบอาหารรับประทานได้ทั้งสุกและดิบ ดอกบดใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ หยอดหู และแก้ปวดฟัน
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูวีณา เกษรา
  กลับไปตอนต้น
   
หูกวาง
ชื่อพื้นเมือง หูกวาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia catappa , Linn.
ชื่อวงศ์ COMBETACEAE
ชื่อสามัญ Indian Almond
การกระจายพันธุ์ ชอบขึ้นตามป่าชายหาด และตามโขดหินริมทะเล
การขยายพันธุ์ นิยมใช้เมล็ด
ลักษณะ ต้น ไม้ต้นผลัดใบ ขนาดใหญ่สูง 10.35 เมตร เปลือกเรียบ
  ใบ ใบเดี่ยว รูปไขกลับ และออกแน่นที่ปลายกิ่ง เนื้อใบหนา
  ดอก ดอกช่อออกตามง่ามใบ ดอกเล็ก สีขาวหรือเหลืองอ่อนๆ
  ผล ผลสีแดง เหลืองหรือเขียว รูปรีค่อนข้างแบน ด้านข้างแบน
  เมล็ด เนื้อหนามีน้ำมัน
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้เปลือกต้นซึ่งมีรสฝาดเป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเสีย บิด ผลเป็นยาถ่าย ใบขับเหงื่อ น้ำมันที่บีบได้จากเมล็ดใช้รักษาโรคเรื้อน
ข้อมูลพื้นบ้าน แก้ขัดเบา แก้ช้ำรั่ว แก้นิ่ว
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูดุษฎี วัลลภศิริ
  กลับไปตอนต้น
   
มะละกอ
ชื่อพื้นเมือง มะละกอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carica Papaya , Linn.
ชื่อวงศ์ CARICACEAE
ชื่อสามัญ Papaya
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้น สูง 3-6 เมตร ไม่มีแก่น ต้นอวบน้ำ
  ใบ เป็นพืชใบเดี่ยว เรียงสลับกัน
  ดอก ดอกมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย และดอกสมบูรณ์เพศ
  ผล รูปยาวรี ทรงกระบอก หรือกลม
  เมล็ด สีดำ กลม
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เนื้อของผลสุกรับประทานเป็นยาระบาย
ข้อมูลพื้นบ้าน ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสมบูรณ์ กันนิ่ม
  กลับไปตอนต้น
   
พุทธรักษา
ชื่อพื้นเมือง พุทธรักษา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Canna indica
ชื่อวงศ์ CANNACEAL (The Canna Family)
ชื่อสามัญ Butsarama, Indian Shot
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ แยกหน่อ และการเพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน จะขึ้นรวมกันเป็นกอ ต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา
  ใบ ลักษณะยาวรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบสีเขียวสด ยาว 30-40 เซนติเมตร
  ดอก มีหลายสี เช่น แดง เหลือง แดงอมเหลือง ส้ม ออกเป็นช่อตรง ยาว 20-25 เซนติเมตร
  ผล กลมโตเท้าผลมะไฟ มีขนหรือหนามอ่อนๆ คล้ายลูกละหุ่งหรือลูกเร็ว เส้นผ่าศูนย์กลางปริมาณ 2.5 เซนติเมตร
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ใช้รักษาโรคตับอักเสบอย่างเฉียบพลัน มีอาการตัวเหลือง ใช้ห้ามเลือด ใบบาดแผลสด หรือแผลมีหนอง ตกขาว ประจำเดือนไม่ปกติ หรือประจำเดือนมาไม่หยุด ใช้ตำพอก
  แผลบวมอักเสบ รักษาอาการไอ โรควัณโรค บำรุงปอด
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูรัตนา มีสมยา
  กลับไปตอนต้น
   
อากาเว่
ชื่อพื้นเมือง อากาเว่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Agaue , Spp.
ชื่อวงศ์ AGAVECEAE
ชื่อสามัญ อากาเว่
การกระจายพันธุ์ ริมทะเล สภาพดินร่วน-ทราย
การขยายพันธุ์ ใช้ดอกสีเหลืองเล็กงอกเป็นต้นใหม่
ลักษณะ ต้น ไม่มีลำต้น เป็นไม้พุ่มแตกกอกลม
  ใบ บางชนิดมีหนาม บางชนิดไม่มีหนาม เรียงตัวเหมือนกลีบกุหลาบ
  ดอก สีเหลือง
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เส้นใยใช้ทำเชือก กระเป๋าถือ เสื้อผ้า
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูตรีรัชย์ ลิกขะไชย
  กลับไปตอนต้น
   
กระเพรา
ชื่อพื้นเมือง กระเพรา กอบก้อ หอกวอชู
ชื่อวิทยาศาสตร์ Oeunum Sanctum , L.
ชื่อวงศ์ LABIATAC
ชื่อสามัญ Holy basel
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ ใช้เปลือกปลูก หรือใช้กิ่ง ปักชำ
ลักษณะ ต้น สี่เหลี่ยม
  ใบ สีเขียวเป็นใบเดี่ยว
  ดอก ดอกช่อ เป็นวงหรือเป็นฉัตร
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น แก้ลมตานซาง ขับผายลม แก้จุกเสียดในท้อง แก้ปวดฟัน แก้ไข้เรื้อรัง
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูนฤมล ไวยเสมา
  กลับไปตอนต้น
   
ก้ามกั้ง
ชื่อพื้นเมือง ก้ามกั้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Heliconia Collinsiana
ชื่อวงศ์ MUSACEAE
ชื่อสามัญ Hanging Heliconia
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ แยกหน่อ
ลักษณะ ต้น เป็นไม้ล้มลุก เนื้ออ่อน ลำต้นไม่มีกิ่งก้าน
  ใบ -
  ดอก เป็นพวงห้อยลงมาพวงหนึ่งยาวประมาณ 1 เมตร
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร -
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูสุปรียา จิตต์บรรเทา
  กลับไปตอนต้น
   
สะแอ
ชื่อพื้นเมือง สะแอ ขิงแดง ขิงแกลง ขิงเผือก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zinglber officinale , Roscoe
ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ Ginger
การกระจายพันธุ์  
การขยายพันธุ์ ใช้เหง้าปลูก
ลักษณะ ต้น เป็นพืชที่มีเหง้าอยู่ในดิน
  ใบ มีรสเผ็ด
  ดอก แก้ตาเปียกแฉะ แก้นิ่ว
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร แก้อาการท้องอืดเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้ไอ
ข้อมูลพื้นบ้าน รับประทาน
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูรัตนา แจ่มใส
  กลับไปตอนต้น
   
พิลังกาสา
ชื่อพื้นเมือง พิลังกาสา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientifie Name Ardisia polycephala , Wall
ชื่อวงศ์ PAMILY NAME MYRAINACEAE
ชื่อสามัญ  
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาไม่มาก
  ใบ ใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายแหลม
  ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งและยอด
  ผล แก่สีม่วงดำ ขนาดเท่าเมล็ดนุ่น
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร -
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูเบญจา หงษ์ดำเนิน
  กลับไปตอนต้น
   
บานบุรี
ชื่อพื้นเมือง บานบุรี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allamanda Cathartica , L.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ Allamanda, Golden Trumpet
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ ใช้กิ่งปักชำ หรือกิ่งตอน
ลักษณะ ต้น เป็นไม้พุ่มกิ่งเลื้อย
  ใบ ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน
  ดอก ออกเป็นช่อที่ยอด กิ่งเหลือง ดอกมีขนาดโต
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร -
ข้อมูลพื้นบ้าน เปลือกและยางใช้เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน รักษาอาการจุกเสียด
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูธนี วรรณคำ
  กลับไปตอนต้น
   
ชื่อพื้นเมือง ประทัดจีน Bitterwood
ชื่อวิทยาศาสตร์ Quassia Amara , Linn
ชื่อวงศ์ ประทัดจีน ประทัดใหญ่
ชื่อสามัญ -
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ -
ลักษณะ ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดย่อมสูงประมาณ 3 ฟุตถึง 1.5 เมตร
  ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกเส้นใบสีแดงก้านใบรวมแผ่ออกเป็นครีบ
  ดอก สีแดงรูปยาวเป็นกระบอกคล้ายประทัด กลีบดอกสีแดงสด
  ผล เป็นผลกลุ่ม ผลย่อยรูปไข่ สีแดงคล้ำ
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร ราก มีรสขมจัด ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย ใบ ทาผิวหนัง แก้คัน เนื้อไม้ นำมาสกัดเป็นยาขับพยาธิเส้นด้ายสำหรับเด็ก
ข้อมูลพื้นบ้าน แพทย์ตามชนบทใช้ราซึ่งมีรสขมจัดปรุงเป็นยาพื้นบ้านแก้ไข้ทุกชนิดเคยรักษาโรคไข้จับสั่นได้ประโยชน์มานานแล้ว
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูมณีวรรณ นราภิรมย์ขวัญ
  กลับไปตอนต้น
   
มะรุม
ชื่อพื้นเมือง มะรุม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Moringa oleifera
ชื่อวงศ์ MORINGACEAE (The Moringa Family)
ชื่อสามัญ Horse-Radish Tree, Ben-tree, Drumrtick-Tree
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด การตอนกิ่ง
ลักษณะ ต้น จะมีสีเทาอ่อนๆ ผิวค่อนข้างเรียบ ลำต้นสูงประมาณ 15-20 เมตร
  ใบ ขอบใบมนเกือบกลม ปลายใบมน
  ดอก ออกดอกเป็นช่อ สีเหลืองนวล
  ผล เป็นฝักยาว
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร -
ข้อมูลพื้นบ้าน -
ชื่อผู้ศึกษา คุณครูภาวนา น้อยวงศ์
  กลับไปตอนต้น
   
ชมพูพันธุ์ทิพย์
ชื่อพื้นเมือง ชมพูพันธุ์ทิพย์ [ภาพประกอบ]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tabepuld rosea (Bertol) , DC.
ชื่อวงศ์ BIGNONACTEA
ชื่อสามัญ ชมพูพันธุ์ทิพย์
การกระจายพันธุ์ -
การขยายพันธุ์ ตอนกิ่ง เพาะเมล็ด
ลักษณะ ต้น แผ่เป็นชั้นความสูง 8-18 เมตา สีน้ำตาลอ่อน เขียว ผิวเรียบ
  ใบ สีเขียว เป็นไม้ผลัดใบ
  ดอก สี ชมพูสด ชมพูอ่อน หรือขาว มีดอก เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน
  ผล -
  เมล็ด -
ประโยชน์  
ข้อมูลจากเอกสาร เป็นไม้เต็มเร็ว ดอกสวยสะดุดตา แต่กิ่งเปราะหักง่าย ไม่เหมาะกับสนามเด็กอ่อน ทิ้งใบหมดก่อนมีดอกไม่เหมาะกับลานจอดรด
ข้อมูลพื้นบ้าน เลี้ยงดูง่าย ทดโรคและแมลง และน้ำท่วมได้ดี หาง่ายราคาถูก สามารถปลูกได้ทันที่หลังจากขุดล้อมในวันเดียว
ชื่อผู้ศึกษา อาจารย์หรินทร์ สูตะบุตร
  กลับไปตอนต้น
   

ลงนามสมุดเยี่ยม


| โรงเรียนของเรา | โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ | กิจกรรม | หลักสูตรพิเศษ | เกียรติประวัติ |
| ศูนย์แนะแนวฯ | แสดงความคิดเห็น | พิชญวาไรตี้ | E-mail Us |


Copyright © 1998 - 2000Pichayasuksa School All Right Reserved.